ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 573อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 586อ่านอรรถกถา 15 / 592อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พรหมสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
ปมาทสูตรที่ ๖

               อรรถกถาปมาทสูตรที่ ๖               
               ในปมาทสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปจฺเจกํ ทฺวารพาหํ ความว่า ได้ยืนพิงบานประตูองค์ละบานเหมือนคนเฝ้าประตู.
               บทว่า อิทฺโธ ความว่า พรั่งพร้อมด้วยความสุขในฌาน.
               บทว่า ผีโต ได้แก่ บานสะพรั่งด้วยดอกไม้คืออภิญญา.
               บทว่า อนธิวาเสนฺโต ได้แก่ อดกลั้นไม่ได้.
               บทว่า เอตทโวจ ความว่า นั่งในท่ามกลางพรหมเนรมิตเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้ว่า ปสฺสสิ เม เป็นต้น.
               ในคาถาว่า ตโย สุปณฺณา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สตะ ในบทว่า ปญฺจสตา พึงประกอบโดยรูปหรือโดยแถว. จะว่าโดยรูปก่อน บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ รูปครุฑ ๓๐๐.
               บทว่า จตุโร จ หํสา ได้แก่ รูปหงส์ ๔๐๐.
               บทว่า พยคฺฆินิสา ปญฺจสตา ได้แก่ มฤคบางเหล่าเช่นกับเสือโคร่ง ชื่อว่า พยัคฆินิสา. รูปมฤคที่เหมือนเสือโคร่งเหล่านั้นมีจำนวน ๕๐๐. ว่าโดยแถว บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ ครุฑ ๓๐๐ แถว.
               บทว่า จตุโร หํสา ได้แก่ หงส์ ๔๐๐ แถว.
               บทว่า พยคฺฆินิสา ปญฺจสตา ได้แก่ มฤคเหมือนเสือโคร่ง ๕๐๐ แถว.
               ด้วยบทว่า ฌายิโน พรหมแสดงว่า ในวิมานของเราผู้ได้ฌานมีความรุ่งโรจน์ขนาดนี้.
               บทว่า โอภาสยํ ได้แก่ สว่างไสว.
               บทว่า อุตฺตรสฺสํ ทิสายํ ความว่า ได้ยินว่า วิมานทองใหญ่นั้นปรากฏในทิศอุดร แต่ที่ๆ มหาพรหมเหล่านั้นสถิตอยู่ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ก็พรหมนั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า เราอยู่ในวิมานทองเห็นปานนี้ จักไปสู่ที่บำรุงใครอื่นเล่า.
               บทว่า รูเป รณํ ทสฺวา ได้แก่ เห็นโทษกล่าวคือเกิด แก่ และแตกดับในรูป.
               บทว่า สทา ปเวธิตํ ความว่า เห็นรูปที่หวั่นไหวและถูกวิโรธิปัจจัยมีความหนาวเป็นต้นกระทบอยู่เป็นนิตย์.
               บทว่า ตสฺมา น รูเป รมตี สุเมโธ ความว่า เห็นโทษในรูปและเห็นรูปที่หวั่นไหวอยู่ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น พระศาสดาผู้มีเมธาดี คือผู้มีปัญญาดี จึงไม่ยินดีในรูป.

               จบอรรถกถาปมาทสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พรหมสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ ปมาทสูตรที่ ๖ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 573อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 586อ่านอรรถกถา 15 / 592อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=4739&Z=4792
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5270
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5270
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :