ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 411อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 416อ่านอรรถกถา 15 / 419อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
ตโปกรรมสูตรที่ ๑

               มารสังยุต               
               ปฐมวรรคที่ ๑               
               อรรถกถาตโปกรรมสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในตโปกรรมสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๑ ต่อไป :-
               บทว่า อุรุเวลายํ วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ทรงอาศัยหมู่บ้านอุรุเวลาประทับอยู่.
               บทว่า ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ ความว่า ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าภายใน ๗ สัปดาห์แรกนั่นเทียว.
               บทว่า ทุกฺกรการิกาย ได้แก่ ด้วยทุกกรกิริยาที่ทรงทำมาตลอด ๖ ปี.
               บทว่า มาโร ปาปิมา ความว่า ที่ชื่อว่ามาร เพราะทำเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อก้าวล่วงวิสัยของตนให้ตาย.
               ที่ชื่อว่า ปาปิมา เพราะประกอบสัตว์ไว้ในบาป หรือประกอบตนเองอยู่ในบาป.
               มารนั้นมีชื่ออื่นๆ บ้าง มีหลายชื่อเป็นต้นว่า กัณหะ อธิปติ วสวัตติ อันตกะ นมุจี ปมัตพันธุ ดังนี้บ้าง. แต่ในพระสูตรนี้ระบุไว้ ๒ ชื่อเท่านั้น.
               บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมนี้บัญญัติว่า เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จำเราจักกล่าวข้อที่พระสมณโคดมนั้นยังไม่เป็นผู้หลุดพ้น ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.
               บทว่า ตโปกมฺมา อปกฺกมฺม แปลว่า หลีกออกจากตบะกรรม
               ด้วยบทว่า อปรทฺโธ มารกล่าวว่า ท่านยังห่างไกลจากทางแห่งความหมดจด.
               บทว่า อปรํ ตปํ ความว่า ตบะอันเศร้าหมองที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ตบะอย่างอื่นอีก เป็นอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากเปล่า.
               บทว่า สพฺพํ นตฺถาวหํ โหติ ความว่า รู้ว่าตบะทั้งหมดไม่นำประโยชน์มาให้เรา.
               บทว่า ถิยา ริตฺตํว ธมฺมนิ ความว่า เหมือนถ่อเรือบนบกในป่า.
               ท่านอธิบายว่า เปรียบเหมือนคนทั้งหลายวางเรือไว้บนบกในป่า บรรทุกสิ่งของแล้ว เมื่อมหาชนขึ้นเรือแล้วก็จับถ่อ ยันมาข้างนี้ ยันไปข้างโน้น ความพยายามของมหาชนนั้นไม่ทำเรือให้เขยื้อนไปแม้เพียงนิ้วหนึ่งสองนิ้ว ก็พึงไร้ประโยชน์ ไม่นำประโยชน์มาให้ ข้อนั้นฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรารู้ว่า ตบะอื่นๆ ทั้งหมด ย่อมเป็นตบะที่ไม่นำประโยชน์มาให้ จึงสละเสีย.
               ครั้นทรงละตบะอย่างอื่นๆ นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางที่เกิดเป็นพระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า สีลํ เป็นต้น.
               ในคำว่า สีลํ เป็นต้นนั้น ทรงถือเอาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า สีลํ. ทรงถือเอาสัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ. ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา.
               บทว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ได้แก่ ทรงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อตรัสรู้.
               ก็ในคำนี้ บทว่า โพธาย ได้แก่ เพื่อมรรค เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายต้มข้าวต้มอย่างเดียว ก็เพื่อข้าวต้ม ปิ้งขนมอย่างเดียว ก็เพื่อขนม ไม่ทำกิจไรๆ อย่างอื่นฉันใด บุคคลเจริญมรรคอย่างเดียว ก็เพื่อมรรคฉันนั้น.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ดังนี้.
               บทว่า ปรมํ สุทฺธึ ได้แก่ พระอรหัต.
               บทว่า นีหโต ได้แก่ ท่านถูกเราตถาคตขจัดออกไป คือทำให้พ่ายแพ้ไปแล้ว.

               จบอรรถกถาตโปกรรมสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ ตโปกรรมสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 411อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 416อ่านอรรถกถา 15 / 419อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=3303&Z=3328
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4200
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4200
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :