ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 390อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 393อ่านอรรถกถา 15 / 399อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ตติยวรรคที่ ๓
ปุคคลสูตรที่ ๑

               ตติยวรรคที่ ๓               
               อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๓ ต่อไป :-
               บุคคลชื่อว่า ตมะ มืดมา เพราะประกอบด้วยความมืดมีชาติเป็นต้นในภายหลังในตระกูลที่ต่ำ. ที่ชื่อว่า ตมปรายนะ มืดไป เพราะเข้าถึงความมืดคือนรกซ้ำอีก ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวถึงความมืดคือขันธ์ แม้ด้วยบททั้งสอง.
               ที่ชื่อว่า โชติ สว่างมา ก็เพราะประกอบด้วยความสว่างมีชาติเป็นต้นในภายหลังในตระกูลมั่งมี. ท่านอธิบายว่าเป็นผู้สว่าง. ที่ชื่อว่า โชติปรายนะ สว่างไป เพราะเข้าถึงความสว่างคือการเข้าถึงสวรรค์อีกต่อ ด้วยกายสุจริตเป็นต้น.
               พึงทราบบุคคลทั้งสอง แม้นอกนี้โดยนัยนี้.
               บทว่า เวณกุเล ได้แก่ ตระกูลช่างสาน.
               บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่ ตระกูลของพวกพรานล่าเนื้อเป็นต้น.
               บทว่า รถการกุเล ได้แก่ ตระกูลช่างหนัง.
               บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ ตระกูลคนทิ้งดอกไม้เป็นต้น.
               บทว่า กสิรวุตฺติเก ได้แก่ ดำรงชีพลำเค็ญ.
               บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวดังตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น.
               บทว่า ทุทฺทสฺสิโก ได้แก่ ผู้พบเห็นไม่ชอบใจ แม้แต่แม่บังเกิดเกล้า.
               บทว่า โอโกฏิมาโก ได้แก่ เป็นคนเตี้ย.
               บทว่า กาโณ ได้แก่ เป็นคนตาบอดข้างเดียวหรือตาบอดสองข้าง.
               บทว่า กุณี ได้แก่ มือง่อยข้างเดียวหรือมือง่อยสองข้าง.
               บทว่า ขญฺโช ได้แก่ มีเท้าง่อยข้างเดียวหรือเท้าง่อยสองข้าง.
               บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนมีสีข้าง ถูกลมขจัดเสียแล้ว คือคนเปลี้ย [อัมพาต].
               บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์แห่งประทีปมีน้ำและภาชนะน้ำมันเป็นต้น.
               ในคำว่า เอวํ โข มหาราช นี้ท่านกล่าวว่า บุคคลคนหนึ่งไม่ทันเห็นแสงสว่างภายนอกก็มาตายเสียในท้องแม่นั่นเอง บังเกิดในอบาย ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกัปแม้ทั้งสิ้น บุคคลแม้นั้น ชื่อว่ามืดมามืดไปแท้.
               ก็บุคคลผู้มืดมามืดไปนั้น พึงเป็นบุคคลหลอกลวง ด้วยว่าบุคคลหลอกลวง ย่อมได้รับผลิตผลเห็นปานนี้.
               ก็ในคำนี้ ท่านแสดงถึงความวิบัติแห่งการมา และความวิบัติแห่งปัจจัยที่เกิดขึ้นในอดีต ด้วยคำว่า นีจกุเล ปจฺฉา ชาโต โหติ จณฺฑาลกุเลวา เป็นต้น.
               แสดงถึงความวิบัติแห่งปัจจัยในปัจจุบัน ด้วยคำว่า ทลิทฺเท เป็นต้น.
               แสดงถึงความวิบัติแห่งอัตภาพ ด้วยคำว่า กสิรวุตฺติเก เป็นต้น.
               แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งทุกข์ ด้วยคำว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น.
               แสดงถึงความวิบัติเหตุแห่งสุข และความวิบัติแห่งเครื่องอุปโภค ด้วยคำว่า น ลาภี เป็นต้น.
               แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไป ด้วยคำว่า กาเยน ทุจฺจริตํ เป็นต้น.
               แสดงถึงความเข้าถึงความมืดที่เป็นไปภายภาคหน้า ด้วยคำว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น.
               พึงทราบฝ่ายขาวโดยนัยตรงข้ามกับฝ่ายดำที่กล่าวมาแล้ว.
               บทว่า อกฺโกสติ ได้แก่ ด่าด้วยเรื่องที่ใช้ด่า ๑๐ เรื่อง.
               บทว่า ปริภาสติ ได้แก่ บริภาษด่ากระทบกระเทียบ ด้วยคำตะคอกว่า เหตุไร พวกเจ้าจึงหยุดงานกสิกรรมเป็นต้นของข้า พวกเจ้าทำกันแล้วหรือ ดังนี้เป็นต้น.
               บทว่า อพฺยคฺคมนโส ได้แก่ มีจิตมีอารมณ์อันเดียว.

               จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ตติยวรรคที่ ๓ ปุคคลสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 390อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 393อ่านอรรถกถา 15 / 399อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2987&Z=3086
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4041
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4041
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :