ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 236อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 238อ่านอรรถกถา 15 / 241อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต ปฐมวรรค
ตายนสูตรที่ ๘

               อรรถกถาตายนสูตรที่ ๘               
               พึงทราบวินิจฉัยในตายนสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
               บทว่า ปุราณติตฺถกโร แปลว่า ผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน.
               ในคำว่า ปุราณติตฺถกโร นั้น ทิฐิ ๖๒ ชื่อว่าลัทธิ [ติตถ]. ศาสดาผู้ก่อกำเนิดลัทธิเหล่านั้น ชื่อว่าเจ้าลัทธิ. คือใคร. คือ นันทะ มัจฉะ กิสะ สังกิจจะ และที่ชื่อว่าเดียรถีย์ทั้งหลายมีปุรณะเป็นต้น.
               ถามว่า ก็ตายนเทพบุตรนี้ก่อทิฐิขึ้นแล้วบังเกิดในสวรรค์ได้อย่างไร.
               ตอบว่า เพราะเป็นกัมมวาที.
               ได้ยินว่า ตายนเทพบุตรนี้ได้ให้อาหารในวันอุโบสถเป็นต้น เริ่มตั้งอาหารไว้สำหรับคนอนาถา ทำที่พัก ให้ขุดสระโบกขรณีทั้งหลายได้ทำความดีมากแม้อย่างอื่น. เพราะผลวิบากแห่งความดีนั้น เขาจึงบังเกิดในสวรรค์.
               แต่เขาไม่รู้ว่า พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์. เขามายังสำนักพระตถาคต ด้วยประสงค์จะกล่าวคาถาคำร้อยกรอง ประกอบด้วยความเพียรอันเหมาะแก่พระศาสนา จึงกล่าวคาถาว่า ฉินฺท โสตํ ดังนี้เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺท เป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน.
               บทว่า โสตํ ได้แก่ กระแสตัณหา.
               บทว่า ปรกฺกม ได้แก่ ทำความเพียร.
               บทว่า กาเม ได้แก่ กิเลสกามบ้าง วัตถุกามบ้าง.
               บทว่า ปนูท แปลว่า จงนำออก.
               บทว่า เอกตฺตํ ได้แก่ ฌาน.
               ท่านอธิบายว่า มุนีไม่ละกามทั้งหลาย ย่อมไม่เข้าถึง คือไม่ได้ฌาน.
               บทว่า กยิรา เจ กยิราเถนํ ความว่า ถ้าบุคคลพึงทำความเพียรไซร้ ก็ไม่พึงท้อถอยความเพียรนั้น.
               บทว่า ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม ความว่า พึงทำความเพียรนั้นให้มั่นคง.
               บทว่า สิถิโล หิ ปริพฺพาโช ได้แก่ บรรพชาที่ถือไว้หย่อนๆ.
               บทว่า ภิยฺโย อากิรเต รชํ แปลว่า พึงโปรยธุลี คือกิเลสไว้เบื้องบนมากมาย.
               บทว่า อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย แปลว่า ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
               บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า มิใช่แต่สามัญญผล คุณเครื่องเป็นสมณะที่ผู้บวชทำชั่วทำไว้อย่างเดียว แม้กิจกรรมอย่างอื่นอะไรๆ ที่ผู้บวชทำย่อหย่อน ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.
               บทว่า สงฺกิลิฏฺฐํ ความว่า วัตรที่ทำได้ยาก คือธุดงควัตรที่สมาทานเพราะปัจจัยลาภเป็นเหตุในพระศาสนานี้ ก็เศร้าหมองทั้งนั้น.
               บทว่า สงฺกสฺสรํ ได้แก่ ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ คือที่สงสัย รังเกียจอย่างนี้ว่า แม้ข้อนี้ ก็จักเป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว แม้ข้อนี้ก็จักเป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว.
               บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกา ได้แก่ เป็นเบื้องต้น คือเป็นที่ปรากฎแห่งมรรคพรหมจรรย์.

               จบอรรถกถาตายนสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต ปฐมวรรค ตายนสูตรที่ ๘ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 236อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 238อ่านอรรถกถา 15 / 241อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1505&Z=1552
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2688
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2688
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :