ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 152อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 158อ่านอรรถกถา 15 / 160อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ชราวรรคที่ ๖
ชราสูตรที่ ๑

               ชราวรรคที่ ๖               
               อรรถกถาชราสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑ แห่งชราวรรคที่ ๖ ต่อไป :-
               บทว่า สาธุ ความว่า ย่อมให้บรรลุประโยชน์อันดี.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงคำว่า สาธุ นี้ ด้วยบทว่า สีลํ ยาว ชรา นี้.
               ก็เครื่องประดับทั้งหลายมีแก้วมุกดาแก้วมณีและผ้าเป็นต้น ย่อมงามแก่บุคคลในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มสาวเท่านั้น เมื่อบุคคลทรงเครื่องประดับเหล่านั้นในเวลาที่ตนเป็นผู้แก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา ก็จะประสบถ้อยคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า บุคคลนี้ย่อมปรารถนาจะเป็นเด็กแม้ในวันนี้ เห็นจะเป็นบ้า ดังนี้.
               ส่วนศีลหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่า ศีลย่อมงามตลอดกาลเป็นนิตย์ ชนทั้งหลายย่อมรักษาศีลในวัยเด็กก็ดี ในวัยกลางคนก็ดี ในวัยแก่ก็ดี ย่อมไม่มีผู้ที่จะกล่าวว่า มีประโยชน์อะไรด้วยศีลของบุคคลนี้ ดังนี้.
               บทว่า ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ อธิบายว่า ชื่อว่าศรัทธาตั้งมั่นอันมาแล้วด้วยมรรค ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ เหมือนศรัทธาของชนทั้งหลายมีหัตถกะอุบาสกชาวอาฬวกะและจิตตคหบดี เป็นต้น.
               ในคำว่า ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย นี้บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นรัตนะ เพราะชนทั้งหลายทำความยำเกรง.
               สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
               ถ้าว่า รัตนะคือบุคคลผู้อันบุคคลพึงทำความยำเกรงไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นผู้อันบุคคลพึงทำความยำเกรงมิใช่หรือ แม้ชนทั้งหลายผู้ควรยำเกรงในโลกมีอยู่ ชนเหล่านั้นควรทำความยำเกรงในพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               ผิว่า รัตนะคือบุคคลผู้ประกอบความยินดีไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นผู้อันบุคคลพึงทำความยินดี มิใช่หรือ เพราะเมื่อประพฤติตามคำของพระองค์ ย่อมอภิรมย์ด้วยความสุขอันเกิดแต่ความพอใจในฌานและความสุขอันเกิดแต่ความยินดี.
               ผิว่า รัตนะคือเป็นผู้ไม่มีใครเสมอไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงสีหะ ก็ไม่มีบุคคลเสมอ (มีคุณอันบุคคลชั่งไม่ได้) มิใช่หรือ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระบารมีอันเป็นความดียิ่งกว่าความดีทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจเพื่อจะเสมอ (ใครๆ ไม่อาจเพื่อชั่งได้).
               ผิว่า รัตนะคือเป็นบุคคลหาได้โดยยาก พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นบุคคลที่หาได้โดยยาก มิใช่หรือ.
               ผิว่า รัตนะคือเครื่องใช้สอยของสัตว์อันไม่ทราม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นผู้ไม่ทรามด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ มิใช่หรือ.
               แต่ในที่นี้ ตรัสว่าปัญญาเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นความปรากฏแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าอันบุคคลหาได้โดยยาก.
               บทว่า บุญ ได้แก่ บุญเจตนา (เจตนาอันเป็นบุญ) เพราะว่า เจตนานั้นถึงความเป็นภาวะมิใช่รูป อันใครๆ ไม่อาจเพื่อนำไปได้ ดังนี้แล.

               จบอรรถกถาชราสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ชราวรรคที่ ๖ ชราสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 152อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 158อ่านอรรถกถา 15 / 160อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1075&Z=1084
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2343
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2343
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :