ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 120อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 130อ่านอรรถกถา 14 / 153อ่านอรรถกถา 14 / 853
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
จูฬปุณณมสูตร

               ๑๐. อรรถกถาจูฬปุณณมสูตร               
               จูฬปุณณมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
               พึงทราบวินิจฉัยในจูฬปุณณมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้.
               บทว่า ตุณฺหีภูตํ ได้แก่ เป็นผู้นิ่งเงียบ คือนิ่งเงียบ ในทิศที่ทรงเหลียวดูไป.
               บทว่า อนุวิโลเกตฺวา ความว่า ทรงลืมพระเนตรอันประดับด้วยประสาทรูปทั้ง ๕ แล้ว ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเห็นความไม่มี แม้โดยชั้นที่สุด การคะนองมือและการคะนองเท้า.
               บทว่า อสปฺปุริโส ได้แก่ บุรุษชั่ว.
               บทว่า โน เหตํ ภนฺเต ความว่า เหตุที่อสัตบุรุษนั้นย่อมไม่อาจรู้อสัตบุรุษนั้น เหมือนคนตาบอดไม่รู้คนตาบอด เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวอย่างนั้น พึงทราบเนื้อความในฐานะทั้ง ๓ แม้เบื้องหน้าจากนี้ไป โดยนัยนี้นั่นแล.
               อสทฺธมฺมสมนฺนาคโตติ ปาปธมฺมสมนฺนาคโตฯ
               บทว่า อสทฺธมฺมสมนฺนาคโต ได้แก่ ประกอบด้วยบาปธรรม.
               บทว่า อสปฺปุริสภตฺตี ได้แก่ คบหากับอสัตบุรุษ.
               บทว่า อสปฺปุริสจินฺตี ได้แก่ คิดแล้วด้วยการคิดอย่างอสัตบุรุษ.
               บทว่า อสปฺปุริสมนฺตี ได้แก่ รู้อย่างอสัตบุรุษ.
               บทว่า อสปฺปุริสวาโจ ได้แก่ พูดอย่างอสัตบุรุษ.
               บทว่า อสปฺปุริสกมฺมนฺโต ได้แก่ ทำการงานอย่างอสัตบุรุษ.
               บทว่า อสปฺปุริสทิฏฺฐี ได้แก่ ประกอบด้วยทิฏฐิของอสัตบุรุษ.
               บทว่า อสปฺปุริสทานํ ได้แก่ ทานที่พวกอสัตบุรุษพึงให้.
               บทว่า ตฺยสฺส มิตฺตา ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นมิตรของอสัตบุรุษนั้น.
               บทว่า อตฺตพฺยาพาธาย เจเตติ ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่ตนอย่างนี้ว่า เราจักฆ่าสัตว์ เราจักถือเอาของที่เขาไม่ให้ เราจักประพฤติมิจฉาจาร เราจักสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้วประพฤติ.
               บทว่า ปรพฺยาพาธาย เจเตติ ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่ผู้อื่นอย่างนี้ว่า เราจักบังคับมันโดยประการที่คนโน้นฆ่าสัตว์ตัวโน้น ลักเอาของๆ คนโน้นที่เขาไม่ได้ให้ สมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ.
               บทว่า อุภยพฺยาพาธาย ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ว่า เราจักพาคนโน้นและคนโน้นไปสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ.
               ในบทว่า อตฺตพยาพาธายปิ มนฺเตติ ดังนี้เป็นต้น ความว่า เมื่อรู้ว่า เราจักสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ ชื่อว่าย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตน เมื่อรู้ว่า เราจัก (ชักชวน) คนโน้นสมาทานอกุศลกรรมบถประพฤติ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อรู้ว่าเรากับคนอื่นแม้ทั้งสอง ร่วมกันสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้งสองฝ่าย.
               บทว่า อสกฺกจฺจํ ทานํ เทติ ความว่า ย่อมไม่ทำความเคารพทั้งไทยธรรมทั้งบุคคล. ให้อาหารที่ประกอบด้วยข้าวสารที่เสียๆ ไม่กระทำให้สมบูรณ์ (คือทำไม่สะอาด) ชื่อว่าไม่ทำความเคารพไทยธรรม. ไม่ปัดกวาดที่สำหรับนั่ง ให้นั่งไม่เลือกที่ วางตั้งตามมีตามเกิดให้ทาน ชื่อว่าไม่ทำความเคารพบุคคล.
               บทว่า สหตฺถา ได้แก่ ไม่ให้ด้วยมือของตน ใช้ทาสและกรรมกรเป็นต้นให้.
               บทว่า อจิตฺตึ กตฺวา ความว่า ไม่ทำความยำเกรงทั้งในไทยธรรมทั้งในบุคคล ให้ทานโดยนัยดังกล่าวข้างต้น.
               บทว่า อปฺปวิฏฺฐํ ความว่า เป็นผู้ต้องการทิ้งให้เหมือนยัดเหี้ยเข้าจอมปลวก.
               บทว่า อนาคมนทิฏฺฐิโก ได้แก่ เป็นผู้ไม่หวังผลให้.
               บทว่า ตตฺถ อุปฺปชฺชติ ความว่า ให้ทานแล้วย่อมไม่เกิดในนรก. ก็ความเห็นผิดอันใดที่อสัตบุรุษนั้นถือเอา เพราะความเป็นผู้มีลัทธิชั่ว ย่อมเกิดในนรกด้วยความเห็นผิดอันนั้น.
               พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยปฏิปักขนัย (นัยฝ่ายตรงกันข้าม) ดังกล่าวแล้ว.
               บทว่า เทวมหตฺตตา ได้แก่ เทวดาชั้นกามาวจร ๖.
               บทว่า มนุสฺสมหตฺตตา ได้แก่ สมบัติแห่งตระกูลทั้ง ๓ (กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี).
               คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้น.
               ก็พระสูตรนี้ตรัสเนื่องด้วยวัฏฏะล้วนๆ แล.

               จบอรรถกถาจูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. เทวหสูตร
                         ๒. ปัญจัตตยสูตร
                         ๓. กินติสูตร
                         ๔. สามคามสูตร
                         ๕. สุนักขัตตสูตร
                         ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
                         ๗. คณกโมคคัลลานสูตร
                         ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
                         ๙. มหาปุณณมสูตร
                         ๑๐. จูฬปุณณมสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค จูฬปุณณมสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 120อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 130อ่านอรรถกถา 14 / 153อ่านอรรถกถา 14 / 853
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=2187&Z=2323
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=1375
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=1375
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :