ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 535อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 549อ่านอรรถกถา 13 / 559อ่านอรรถกถา 13 / 734
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค
พาหิติยสูตร ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา

               ๘. อรรถกถาพาหิติยสูตร               
               พาหิติยสูตร๑- มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
____________________________
๑- ฉ. พาหิติกสูตร

               ในพระสูตรนั้น บทว่า เอกปุณฺฑริกนาคํ ได้แก่ ช้างที่มีชื่ออย่างนี้.
               ได้ยินว่า เหนือซี่โครงของพญาช้างนั้นมีที่ขาวอยู่ประมาณเท่าผลตาล เพราะฉะนั้น เขาจึงตั้งชื่อพระยาช้างนั้นว่า เอกปุณฑริกะ.
               บทว่า สิริวฑฺฒํ มหามตฺตํ ได้แก่ มหาอำมาตย์มีชื่ออย่างนั้น ซึ่งขึ้นช้างอีกเชือกหนึ่งต่างหากไปด้วย เพื่อจะสนทนาตามความผาสุก.
               บทว่า โน ในคำว่า อายสฺมา โน นี้ เป็นนิบาตใช้ในการถาม. มหาอำมาตย์กำหนดอาการที่พระเถระทรงสังฆาฏิและบาตรได้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช.
               บทว่า โอปารมฺโภ ความว่า ควรติเตียน คือควรแก่อันยกโทษ. พระราชาตรัสถามว่า เราจะถามอย่างไร. พระราชาตรัสถามว่า พระสูตรนี้เกิดขึ้นในเรื่องที่งาม เราจะถามเรื่องนั้น.
               บทว่า ยํ หิ มยํ ภนฺเต ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายไม่อาจถือเอาบทว่า "อันสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้ง" นี้ใดให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ เหตุอันนั้น ท่านพระอานนท์ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้ให้บริบูรณ์แล้ว.
               บทว่า อกุสโล ได้แก่ อันเกิดแต่ความไม่ฉลาด.
               บทว่า สาวชฺโช ความว่า เป็นไปกับด้วยโทษ.
               บทว่า สพฺยาปชฺโฌ ความว่า เป็นไปกับด้วยทุกข์.
               ในบทว่า ทุกฺขวิปาโก นี้ ท่านกล่าวถึงวิบากที่ไหลออก.
               บทว่า ตสฺส ความว่า แก่กายสมาจารที่เป็นไปแล้วเพื่อประโยชน์แก่ความเบียดเบียนตนเองเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วนั้น.
               ในคำว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตละอกุศลธรรมได้ทั้งหมดแล ประกอบด้วยกุศลธรรม นี้ คือทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมสิ้นทุกอย่างนั้นเองแล.
               เมื่อท่านกล่าวว่า "ขอถวายพระพรย่อมสรรเสริญ" คำถามย่อมมีด้วยประการใด เป็นอันกล่าวอรรถด้วยประการนั้น.
               อนึ่ง พยากรณ์อย่างนี้ไม่พึงเป็นภาระ เพราะแม้ผู้ที่ยังละอกุศลไม่ได้ ก็พึงสรรเสริญการละ.
               อนึ่ง เพื่อแสดงว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอย่างไร ก็มีปรกติกล่าวอย่างนั้น เพราะทรงละอกุศลได้แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนั้น.
               แม้ในฝ่ายขาวก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า พาหิติยา นี้เป็นชื่อของผ้าที่เกิดขึ้นในพาหิติรัฐ.
               คำว่า โดยยาว ๑๖ ศอก ความว่า โดยยาวมีประมาณ ๑๖ ศอกถ้วน.
               คำว่า โดยกว้าง ๘ ศอก ความว่า โดยกว้าง ๘ ศอกถ้วน.
               คำว่า ได้ทูลถวาย (ผ้าพาหิติกา) แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ได้มอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็แลครั้นถวายแล้วได้ผูกทำเป็นเพดานในพระคันธกุฎี. ตั้งแต่นั้น พระคันธกุฎีก็งดงามโดยยิ่งกว่าประมาณ.
               คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง ตื้นทั้งนั้นแหละ.
               อนึ่ง เทศนานี้จบแล้วด้วยสามารถแห่งไนยบุคคลแล.

               จบอรรถกถาพาหิติยสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ราชวรรค พาหิติยสูตร ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา จบ.
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 535อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 549อ่านอรรถกถา 13 / 559อ่านอรรถกถา 13 / 734
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=8628&Z=8788
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=6327
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=6327
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :