ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 240อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 244อ่านอรรถกถา 13 / 253อ่านอรรถกถา 13 / 734
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
อัคคิวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

               ๒. อรรถกถาอัคคิวัจฉสูตร๑-               
๑- บาลีเป็นอัคคิวัจฉโคตตสูตร.

               อัคคิวัจฉโคตตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
               ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า น โข อหํ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในครั้งแรกว่า เราไม่เห็นว่าโลกเที่ยง. ในครั้งที่ ๒ ตรัสว่า เราไม่เห็นว่าโลกขาดสูญ.
               พึงทราบการปฏิเสธในทุกวาระด้วยคำมีอาทิว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยประการฉะนี้.
               วาทะนี้ว่า โหติ จ น จ โหติ สัตว์ตายไปแล้วมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี เป็นวาทะว่าเที่ยงบางอย่างในที่นี้. วาทะนี้ว่า สัตว์ตายไปแล้วมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ พึงทราบว่าเป็นอมราวิกเขปะ (ทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว).
               บทว่า สทุกฺขํ เป็นไปกับด้วยทุกข์ คือเป็นไปกับด้วยทุกข์ ด้วยทุกข์อันเกิดแต่กิเลส และด้วยทุกข์อันเกิดแต่วิบาก.
               บทว่า สวิฆาตํ เป็นไปกับด้วยความลำบาก คือเป็นไปกับด้วยความลำบากด้วยอำนาจทุกข์ ๒ อย่างเหล่านั้น.
               บทว่า สอุปายาสํ เป็นไปกับด้วยความคับแค้น คือเป็นไปกับด้วยความคับแค้นด้วยอำนาจทุกข์เหล่านั้น.
               บทว่า สปริฬาหํ เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อนด้วยอำนาจแห่งทุกข์เหล่านั้นนั่นแหละ.
               บทว่า กิญฺจิ ทิฏฺฐิคตํ ความว่า วัจฉะทูลถามว่า แม้ความเห็นไรๆ ที่พระองค์ทรงชอบ ทรงพอใจแล้วถือเอามีอยู่หรือ.
               บทว่า อปนีตํ นำออกไปแล้ว คือตถาคตกำจัดแล้วไม่เข้าไปหาแล้ว.
               บทว่า ทิฏฺฐํ คือ เห็นด้วยปัญญา.
               บทว่า ตสฺมา เพราะฉะนั้น ตถาคตได้เห็นความเกิดและความเสื่อมแห่งขันธ์ ๕.
               บทว่า สพฺพมญฺญิตานํ ซึ่งความสำคัญทั้งปวง คือซึ่งความสำคัญคือตัณหาทิฏฐิและมานะแม้ทั้ง ๓ ทั้งปวง.
               แม้บทว่า มถิตานํ ก็เป็นไวพจน์ของบทเหล่านั้นนั่นเอง.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกบทเหล่านั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงจึงตรัสว่า สพฺพอหงฺการมมงฺการมานานุสยานํ ความถือว่าเรา ว่าของเราและความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง.
               จริงอยู่ ในบทนี้พึงทราบความดังนี้. ความถือว่าเราเป็นทิฏฐิ. ความถือว่าของเราเป็นตัณหา. ความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานเป็นมานะ.
               บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต ตถาคตพ้นวิเศษแล้วจากความไม่ถือมั่น คือพ้นเพราะไม่ถือธรรมไรๆ ด้วยอุปาทาน ๔.
               บทว่า น อุเปติ คือ ไม่ควร.
               อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ดังต่อไปนี้.
               บทว่า น อุปปชฺชติ ไม่เกิดนี้ ควรรู้ตาม. แต่เพราะเมื่อตรัสอย่างนี้ปริพาชกนั้น พึงถือเอาความขาดสูญ.
               อนึ่ง บทว่า อุปปชฺชติ ย่อมเกิด. พึงถือเอาความเที่ยงอย่างเดียว.
               บทว่า อุปปชฺชติ จ โน อุปปชฺชติ จ เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี พึงถือเอาความเที่ยงบางส่วน.
               บทว่า เนว อุปปชฺชติ น จ อุปปชฺชติ เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่เป็นความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วัจฉปริพาชกนี้ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว จะไม่ได้ที่เข้าไปอยู่เป็นสุขเลย แล้วทรงตั้งอยู่ในความไม่เห็นชอบ ทรงปฏิเสธความเห็นชอบ.
               บทว่า อลํ ควรแล้ว คือสามารถจัดแจง.
               บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือปัจจยาการ.
               บทว่า อญฺญตฺถ โยเคน คือมีความเพียรในทางอื่น.
               บทว่า อญฺญตฺถ อาจริยเกน คืออยู่ในสำนักของอาจารย์อื่นผู้ไม่รู้ปัจจยาการ.
               บทว่า เตนหิ วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ท่านกล่าวว่าเราถึงความลุ่มหลง ฉะนั้น เราจะย้อนถามท่านในข้อนี้.
               บทว่า อนาหาโร นิพฺพุโต ไฟไม่มีเชื้อดับไปแล้ว คือไม่มีปัจจัยดับไป.
               บทว่า เยน รูเปน ด้วยรูปใด คือพึงบัญญัติสัตว์ว่ามีรูปด้วยรูปใด.
               บทว่า คมฺภีโร คือ มีคุณอันลึก.
               บทว่า อปฺปเมยฺโย อันใครๆ ประมาณไม่ได้ คือไม่สามารถถือเอาประมาณได้.
               บทว่า ทุปฺปริโยคาฬฺโห หยั่งถึงได้โดยยาก คือรู้ได้ยาก.
               บทว่า เสยฺยถาปิ มหาสมุทฺโท คือ ดุจมหาสมุทรลึก ประมาณไม่ได้ รู้ได้ยากฉันใด แม้พระขีณาสพก็ฉันนั้น.
               บทมีอาทิว่า อุปฺปชฺชติ ไม่ควรทั้งหมดเพราะปรารภพระขีณาสพนั้น.
               อย่างไร.
               เหมือนบทมีอาทิว่า บุคคลไปสู่ทิศตะวันออก เพราะปรารภไฟที่ดับแล้ว ไม่ควรทั้งหมดฉะนี้.
               บทว่า อนิจฺจตา เพราะความไม่เที่ยง.
               บทว่า สาเร ปติฏฺฐิตํ คือ เหลือแต่แก่นคือโลกุตตรธรรม.
               บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาอัคคิวัจฉสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค อัคคิวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร จบ.
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 240อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 244อ่านอรรถกถา 13 / 253อ่านอรรถกถา 13 / 734
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4316&Z=4440
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=3661
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=3661
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :