ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 222อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 240อ่านอรรถกถา 13 / 244อ่านอรรถกถา 13 / 734
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
จูฬวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

               อรรถกถาปริพพาชกวรรค               
               ๑. อรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตร๑-               
๑- บาลีว่า จูฬวัจฉโคตตสูตร.

               เตวิชชวัจฉสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
               ในบรรดาบทเหล่านั้นว่า เอกปุณฺฑริเก ต้นมะม่วงขาวท่านเรียกว่าปุณฑริกะ. ชื่อว่า เอกปุณฺฑริโก เพราะต้นปุณฑริกต้นนั้นมีอยู่ต้นเดียวในอารามนั้น.
               บทว่า เอตทโหสิ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริ เพราะมีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไป ในปริพพาชการามนั้น.
               บทว่า จิรสฺสํ โข ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กว่าพระองค์จะเสด็จมานานทีเดียว หมายถึงเคยเสด็จมาตามปรกติ.
               ในบทว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ ธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าธรรม. การพยากรณ์แก่มหาชนชื่อว่า อนุธรรม (ธรรมสมควร).
               บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในชีวกสูตรนั่นแล.
               บทว่า น เม ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว คือตั้งอยู่ในความไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความเห็นชอบ. เพราะพระสัพพัญญูมีปรกติเห็นสิ่งทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะไม่มีส่วนเหลือ ฉะนั้น ญาณทัสนะนี้ควรรู้ตาม.
               บทว่า จรโต จ เม ปจฺจุปฏฺฐิตํ เมื่อเราเดินไปก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วนี้ ไม่สมควรรู้ตาม. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคำนึงด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงรู้. ฉะนั้น ทรงตั้งอยู่ในความไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความเห็นชอบจึงตรัสอย่างนี้.
               ในบทว่า อาสวานํ ขยา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เพียงใด. เพราะอาสวะทั้งหลายที่สิ้นไปแล้วครั้งเดียว มิได้มีอาสวะที่จะพึงสิ้นไปอีก.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวย่อพระคุณทั้งสิ้นด้วยวิชชา ๓ เหล่านี้ คือ ทรงแสดงคุณ คือ ความรู้ในอดีตด้วยปุพเพนิวาสญาณ ๑ ทรงแสดงคุณ คือความรู้ในปัจจุบัน ด้วยทิพจักขุญาณ ๑ ทรงแสดงโลกุตญาณ ด้วยอาสวักขยญาณ ๑.
               บทว่า คิหิสํโยชนํ สังโยชน์ของคฤหัสถ์ คือความผูกพันของคฤหัสถ์คือความใคร่ในบริขารของคฤหัสถ์.
               บทว่า นตฺถิ โข วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ไม่มีเลย คือผู้ยังไม่ละคิหิสังโยชน์ ชื่อว่าจะทำที่สุดทุกข์ย่อมไม่มี.
               แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์ คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะเศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุพระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้นก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้ แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น.
               ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง. แต่ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.
               ในกามภพที่เหลือ พระอริยบุคคล ๓ จำพวกมีพระโสดาบันเป็นต้น ยังดำรงอยู่ได้ในมนุษยโลก. ในกามาวจรเทวโลก พระโสดาบันและพระสกทาคามียังดำรงอยู่ได้. แต่พระอนาคามีและพระขีณาสพจะดำรงอยู่ในกามาวจรเทวโลกนี้ไม่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะที่นั้นมิใช่เป็นที่อยู่ของชนผู้ละอายแล้ว และที่นั้นมิใช่เป็นที่ปกปิดที่สมควรแก่วิเวกของพระขีณาสพเหล่านั้น.
               ด้วยประการฉะนี้ พระขีณาสพจึงปรินิพพาน ณ ที่นั้น. พระอนาคามีจุติแล้วไปเกิดในชั้นสุทธาวาส. พระอริยะแม้ ๔ จำพวกย่อมดำรงอยู่ในภูมิเบื้องบน แต่กามาวจรเทวโลกได้.
               บทว่า โสจาปิ กมฺมวาที คือ อาชีวกที่เป็นกรรมวาที.
               บทว่า กิริยวาที พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านผู้อื่นแล้ว ทรงกล่าวถึงพระองค์เองเท่านั้นในที่สุด ๘๙ กัป.๒-
               ได้ยินว่า ในครั้งนั้นพระมหาสัตว์ทรงผนวชเพื่อทรงสอบสวนลัทธิปาสัณฑะ (เป็นลัทธิเกี่ยวกับตัณหาและทิฏฐิ). ครั้นทรงทราบว่าลัทธิปาสัณฑะนั้นไม่มีผล ก็มิได้ทรงเลิกละความเพียรได้เป็นกิริยวาทีไปบังเกิดบนสวรรค์ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
____________________________
๒- บาลีว่า ๙๑ กัป

               บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค จูฬวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร จบ.
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 222อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 240อ่านอรรถกถา 13 / 244อ่านอรรถกถา 13 / 734
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4235&Z=4315
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=3622
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=3622
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :