ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 12 / 1อ่านอรรถกถา 12 / 226อรรถกถา เล่มที่ 12 ข้อ 234อ่านอรรถกถา 12 / 243อ่านอรรถกถา 12 / 557
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค
วนปัตถสูตร ว่าด้วยการอยู่ป่า

               อรรถกถาวนปัตถปริยายสูตร               
               วนปัตถปริยายสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ :-
               บทว่า วนปตฺถปริยายํ ได้แก่ เหตุของการอยู่ป่าชัฏหรือการแสดงการอยู่ป่าชัฏ.
               บทว่า วนปตฺถํ นิสฺสาย วิหรติ ความว่า ภิกษุอาศัยเสนาสนะในราวป่า อันพ้นจากสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ประพฤติสมณธรรมอยู่.
               ในบทว่า อนุปฏฺฐิตา เป็นต้น มีอธิบายว่า เมื่อเธอแม้เข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏในกาลก่อน ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นในกาลก่อน ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไปในกาลก่อน ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุอรหัต กล่าวคือความปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุในกาลก่อน.
               บทว่า ชีวิตปริกฺขารา คือ เครื่องบำรุงชีวิต.
               บทว่า สมุทาเนตพฺพา ได้แก่ อันพึงนำมาพร้อม.
               บทว่า กสิเรน สมุทาคจฺฉนฺติ คือ เกิดขึ้นโดยยาก.
               บทว่า รตฺติภาคํ วา ทิวสภาคํ วา ได้แก่ ในส่วนกลางคืน หรือในส่วนกลางวัน.
               ก็ในที่นั้น ภิกษุพิจารณาอยู่ในส่วนกลางคืน รู้แล้วควรหลีกไปในกลางคืนนั้นเทียว ครั้นเมื่อทางเปลี่ยวแห่งสัตว์ดุร้ายเป็นต้นในกลางคืนมีอยู่ ควรรออรุณขึ้น รู้ในส่วนกลางวันควรหลีกไปในกลางวันเทียว ครั้นเมื่อทางเปลี่ยวในกลางวันมีอยู่ ก็ควรรอพระอาทิตย์ตก.
               บทว่า สงฺขาปิ ความว่า รู้ความที่สมณธรรมไม่สำเร็จอย่างนี้.
               บทว่า อนนฺตรวาเร ปน สงฺขาปิ ความว่า รู้ความที่สมณธรรมสำเร็จอย่างนี้.
               บทว่า ยาวชีวํ ความว่า ชีวิตยังเป็นไปตราบใด ควรอยู่ตราบนั้นเทียว.
               บทว่า โส ปุคฺคโล เชื่อมกับบทนี้ว่า นานุพนฺธิตพฺโพ.
               ก็ในบทว่า อนาปุจฺฉา มีอธิบายว่า ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสีย.
               บทว่า สงฺขาปิ ความว่า ภิกษุรู้ความที่สมณธรรมไม่สำเร็จอย่างนี้ ไม่ควรพัวพันกับบุคคลนั้น ควรบอกบุคคลนั้นหลีกไปเสีย.
               บทว่า อปิ สมุชฺชมาเนนปิ ได้แก่ แม้จะถูกฉุดคร่าก็ตาม.
               ก็บุคคลเห็นปานนี้ แม้ถ้าจะให้นำไม้ร้อยกำ น้ำร้อยหม้อ หรือทรายร้อยถุง หรือให้ฉุดคร่าว่า เจ้าอย่าอยู่ในที่นี้ ก็ควรให้บุคคลนั้นขอโทษ พึงอยู่ตลอดชีพนั้นเทียวแล.

               จบอรรถกถาวนปัตถปริยายสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค วนปัตถสูตร ว่าด้วยการอยู่ป่า จบ.
อ่านอรรถกถา 12 / 1อ่านอรรถกถา 12 / 226อรรถกถา เล่มที่ 12 ข้อ 234อ่านอรรถกถา 12 / 243อ่านอรรถกถา 12 / 557
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=3631&Z=3751
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=10118
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=10118
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๒  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :