ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 1340อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 1359อ่านอรรถกถา 8 / 1360อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อรรถกถา ปริวาร
ปัญจวรรค อรรถวสวรรคที่ ๒

               [ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท]               
               บัดนี้ พระอุบาลีเถระได้เริ่มคำว่า เทฺว อตฺถวเส ปฏิจฺจ เป็นต้น เพื่อแสดงอานิสงส์ในการที่ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งกรรมเหล่านั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การระวัง คือเพื่อประโยชน์แก่การปิดซึ่งเวรอันเป็นไปในทิฏฐธรรม ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น.
               หลายบทว่า สมฺปรายิกานํ อาสวานํ ปฏิฆาตาย มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การกำจัด คือ เพื่อประโยชน์แก่การตัดขาด ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่การไม่เกิดขึ้น แห่งเวรอันเป็นไปในสัมปรายภพกล่าวคือวิปากทุกข์.
               หลายบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ เวรานํ สํวราย มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การปิดซึ่งเวร ๕ เหล่านั้นแล.
               สองบทว่า สมฺปรายิกานํ เวรานํ มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดวิปากทุกข์เหล่านั้นแล.
               หลายบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ วชฺชานํ สํวราย มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การปิดซึ่งเวร ๕ เหล่านั้น.
               สองบทว่า สมฺปรายิกานํ วชฺชานํ มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดวิปากทุกข์เหล่านั้นแล.
               จริงอยู่ วิปากทุกข์นั่นแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โทษ ในที่นี้ ก็เพราะเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเว้น.
               สองบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ ภยานํ มีความว่า ภัยเหล่านี้ คือความติ การโจท กรรมมีตัชชนียกรรมเป็นต้น การงดอุโบสถและปวารณา กรรมที่ประจานความเสียหาย ชื่อว่าภัยเป็นไปในทิฏฐธรรม, เพื่อประโยชน์แก่การระวังภัยเหล่านั้น,
               ส่วนภัยเป็นไปในสัมปรายภพ ก็คือวิปากทุกข์นั่นเอง, เพื่อประโยชน์แก่การระวังสัมปรายิกภัยเหล่านั้น.
               สองบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อกุสลานํ มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การระวังอกุศล มีเวร ๕ และอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นประเภท.
               อนึ่ง วิปากทุกข์นั่นเอง ท่านกล่าวว่า อกุศลเป็นไปในสัมปรายภพ เพราะอรรถว่าไม่ปลอดภัย, เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดอกุศลเหล่านี้.
               สองบทว่า คิหีนํ อนุกมฺปาย มีความว่า เพื่อประโยชน์ที่จะอนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจรักษาศรัทธาไว้.
               สองบทว่า ปาปิจฺฉานํ ปกฺขุปจฺเฉทาย มีความว่า คณโภชนสิกขาบท อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์ที่จะทำลายการควบคุมกันเป็นพวก แห่งบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกทั้งหลาย.
               คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
               ก็ในข้อที่ยังเหลืออยู่นี้ จะพึงมีคำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าว, คำทั้งปวงนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในวัณณนาแห่งปฐมปาราชิกเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

               บรรยายประโยชน์ในสิกขาบท จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปริวาร ปัญจวรรค อรรถวสวรรคที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 1340อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 1359อ่านอรรถกถา 8 / 1360อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=13225&Z=13258
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=12811
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=12811
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :