ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 1060อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 1069อ่านอรรถกถา 8 / 1077อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อรรถกถา ปริวาร
คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง เรื่องโจทเป็นต้น

               ทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา               
               วินิจฉัยในทุติยคาถาสังคณิกะ พึงทราบดังนี้ :-
               วาจาที่แสดงไล่เลียงวัตถุและอาบัติ ชื่อว่าโจทนา.
               วาจาที่เตือนให้นึกถึงโทษ ชื่อว่าสารณา.
               สองบทว่า สงฺโฆ กิมตฺถาย มีความว่า ประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร?
               บาทคาถาว่า มติกมฺมํ ปน กิสฺส การณา มีความว่า ความเข้าใจ ความประสงค์ ตรัสว่า มติกรรม มติกรรมนั้น ตรัสไว้เพราะเหตุแห่งอะไร?
               บาทคาถาว่า โจทนา สารณตฺถาย มีความว่า วาจาสำหรับไล่เลียงมีประการดังกล่าวแล้ว เพื่อประโยชน์ที่จะเตือนให้นึกถึงโทษที่บุคคลผู้เป็นจำเลยนั้นได้กระทำแล้ว.
               บาทคาถาว่า นิคฺคหตฺถาย สารณา มีความว่า ส่วนวาจาที่จะเตือนให้นึกถึงโทษ เพื่อประโยชน์ที่จะข่มบุคคลนั้น.
               บาทคาถาว่า สงฺโฆ ปริคฺคหตฺถาย มีความว่า สงฆ์ผู้ประชุมกัน ณ ที่นั้น เพื่อประโยชน์ที่จะช่วยกันวินิจฉัย. อธิบายว่า เพื่อประโยชน์ที่จะพิจารณาว่า เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม คือเพื่อประโยชน์ที่จะทราบว่า อธิกรณ์นั้นได้วินิจฉัยถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง.
               บาทคาถาว่า มติกมฺมํ ปน ปาฏิเยกฺกํ มีความว่า ความเข้าใจ ความประสงค์ของพระเถระผู้เป็นนักพระสูตร และพระเถระผู้เป็นนักวินัยทั้งหลาย ก็เพื่อให้วินิจฉัยสำเร็จเป็นแผนกๆ.
               หลายบทว่า มา โข ปฏิฆํ มีความว่า อย่าก่อความโกรธในจำเลยหรือโจทก์.
               หลายบทว่า สเจ อนุวิชฺชโก ตุวํ มีความว่า ถ้าว่าท่านเป็นพระวินัยธรนั่งวินิจฉัยอธิกรณ์ ซึ่งหยั่งลงในท่ามกลางสงฆ์.
               บทว่า วิคฺคาหิยํ มีความว่า (ท่านอย่าได้กล่าวถ้อยคำชวนวิวาท) ซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้หรือ?
               บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ มีความว่า อย่ากล่าวถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย คือทำบริษัทให้ปั่นป่วนลุกลามขึ้น.
               วินิจฉัยในบทว่า สุตฺเต วินเย เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-
               อุภโตวิภังค์ ชื่อว่าสูตร, ขันธกะ ชื่อว่าวินัย, บริวาร ชื่อว่าอนุโลม, วินัยปิฏกทั้งสิ้น ชื่อว่าบัญญัติ, มหาปเทส ๔ ชื่อว่าอนุโลมิกะ.
               บาทคาถาว่า อนุโยควตฺตํ นิสาเมถ มีความว่า ท่านจงพิจารณาวัตรในการซักถาม.
               บาทคาถาว่า กุสเลน พุทฺธิมตา กตํ มีความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เฉียบแหลมเป็นบัณฑิต บรรลุความสำเร็จแห่งพระญาณ ทรงนำออกตั้งไว้.
               บทว่า สุวุตฺตํ มีความว่า อันพระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ดีแล้ว.
               บทว่า สิกฺขาปทานุโลมิกํ มีความว่า เหมาะแก่สิกขาบททั้งหลายเนื้อความเฉพาะบทเท่านี้ก่อน.
               ส่วนพรรณนาโดยย่อพร้อมทั้งอธิบายในคาถานี้ ดังนี้ :-
               ถ้าว่า ท่านผู้ว่าอรรถคดี อย่ากล่าวผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวนวิวาท ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ก็วัตรในการซักถามอันใด อันพระโลกนาถผู้ฉลาดมีปัญญาทรงจัดไว้ แต่งตั้งไว้ดี ในสูตรเป็นต้นเหล่านั้น อนุโลมแก่สิกขาบททั้งปวง, ท่านจงพิจารณา คือจงตรวจดูอนุโยควัตรนั้น.
               บาทคาถาว่า คตึ น นาเสนฺโต สมฺปรายิกํ มีความว่า จงพิจารณาอนุโยควัตร อย่าให้เสียคติคือความสำเร็จในสัมปรายภพของตน. จริงอยู่ ภิกษุใดไม่พิจารณาอนุโยควัตรนั้น ซักถาม, ภิกษุนั้นย่อมให้เสียคติของตนที่เป็นในสัมปรายภพ, เพราะเหตุนั้น จงพิจารณาอย่าให้เสียคตินั้นได้.
               บัดนี้ พระอุบาลีเถระกล่าวคำว่า หิเตสี เป็นอาทิ เพื่อแสดงอนุโยควัตรนั้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิเตสี ได้แก่ ผู้แสวงคือผู้ใฝ่หาประโยชน์. อธิบายว่า จงเข้าไปตั้งไมตรีและธรรมเป็นบุพภาคแห่งไมตรีไว้.
               บทว่า กาเล ได้แก่ ในกาลที่จัดว่าสมควร คือในกาลที่สงฆ์เชิญเท่านั้น. อธิบายว่า ท่านจงซักถาม ในเมื่อสงฆ์มอบภาระแก่ท่าน.
               บาทคาถาว่า สหสา โวหารํ มา ปธาเรสิ มีความว่า สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลัน คือถ้อยคำที่กล่าวโดยผลุนผลันใด ของโจทก์และจำเลยเหล่านั่น อย่าคัด คือ อย่าถือเอาสำนวนนั้น.
               ความสืบสมแห่งคำให้การ เรียกว่าความสืบเนื่อง ในบาทคาถาว่า ปฏิญฺญานุสนฺธิเตน การเย นี้, เพราะเหตุนั้น พึงปรับตามคำสารภาพและความสืบสม. อธิบายว่า พึงกำหนดความสืบสมแห่งคำให้การ แล้วจึงปรับตามคำสารภาพ.
               อีกอย่างหนึ่ง พึงปรับตามคำรับสารภาพและตามความสืบสม. อธิบายว่า พึงปรับตามคำรับสารภาพของจำเลยผู้เป็นลัชชี พึงปรับตามความสืบสมแห่งความประพฤติของจำเลยผู้อลัชชี.
               เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาว่า เอวํ ปฏิญฺญา ลชฺชีสุ เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วตฺตานุสนฺธิเตน การเย มีความว่า พึงปรับตามความสืบสมแห่งความประพฤติ. อธิบายว่า คำรับสารภาพใด กับความประพฤติของอลัชชีนั้นสมกัน, พึงปรับตามคำสารภาพนั้น.
               บทว่า สญฺจิจฺจ ได้แก่ ต้องทั้งรู้.
               บทว่า ปริคูหติ ได้แก่ ปิดไว้ คือ ไม่แสดง ไม่ออกเสีย.
               บาทคาถาว่า สจฺจํ อหํปิ ชานามิ มีความว่า คำใดอันพระองค์ตรัสแล้ว คำนั้นเป็นจริง, แม้ข้าพระองค์ก็รู้คำนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
               สองบทว่า อญฺญญฺจ ตาหํ มีความว่า ก็แลข้าพระองค์จะทูลถามพระองค์ถึงอลัชชีชนิดอื่น.
               บาทคาถาว่า ปุพฺพาปรํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อยคำที่ตนกล่าวไว้ในกาลก่อน และตนกล่าวในภายหลัง.
               บทว่า อโกวิโท ได้แก่ ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลังนั้น.
               บาทคาถาว่า อนุสนฺธิวจนปถํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อยคำที่สืบสมแห่งคำให้การ และถ้อยคำที่สืบสมแห่งคำตัดสิน.
               บาทคาถาว่า สีลวิปตฺติยา โจเทติ คือโจทด้วยกองอาบัติ ๒.
               บทว่า อาจารทิฏฺฐิยา ได้แก่ โจทด้วยอาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ. เมื่อจะโจทด้วยอาจารวิบัติ ย่อมโจทด้วยกองอาบัติ ๕, เมื่อจะโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ย่อมโจทด้วยมิจฉาทิฏฐิและอันตคาหิกทิฏฐิ.
               บาทคาถาว่า อาชีเวนปิ โจเทติ มีความว่า โจทด้วยสิกขาบท ๖ ซึ่งบัญญัติไว้ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ.
               บทที่เหลือที่ในทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

               ทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปริวาร คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง เรื่องโจทเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 8 / 1อ่านอรรถกถา 8 / 1060อรรถกถา เล่มที่ 8 ข้อ 1069อ่านอรรถกถา 8 / 1077อ่านอรรถกถา 8 / 1366
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=8&A=9497&Z=9564
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11204
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11204
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :