ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 7 / 1อ่านอรรถกถา 7 / 294อรรถกถา เล่มที่ 7 ข้อ 296อ่านอรรถกถา 7 / 317อ่านอรรถกถา 7 / 664
อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ เสนาสนะขันธกะ
ให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง เป็นต้น

               [ว่าด้วยสิทธิแห่งนวกัมมิกะ]               
               ในข้อว่า เอกํ วรเสยฺยํ นี้ มีความว่า ในสถานที่ให้นวกรรมก็ดี ในสถานที่ถึงตามลำดับพรรษาก็ดี ภิกษุผู้ซ่อมแซมปรารถนาเสนาสนะใด ย่อมได้เสนาสนะนั้น, เราอนุญาตให้ถือเอาเสนาสนะที่ดีแห่งหนึ่ง.
               ข้อว่า ปริโยสิเต ปกฺกมติ ตสฺเสว ตํ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นกลับมาจำพรรษาอีก เสนาสนะนั้น เป็นของเธอเท่านั้น ตลอดภายในพรรษา แต่เมื่อเธอไม่มา สัทธิวิหาริกเป็นต้น จะถือเอาไม่ได้.
               บทว่า นาภิหรนฺติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่กล้านำ (เสนาสนะ) ไปใช้ในที่อื่น.
               บทว่า คุตฺตตฺถาย มีความว่า เราอนุญาตให้ขนเสนาสนะ มีเตียงและตั่งเป็นต้น ในที่อยู่นั้นไปในที่อื่น เพื่อประโยชน์แก่ความคุ้มครองเสนาสนะนั้น. เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุนำไปในที่อื่นแล้วใช้สอยเป็นสังฆบริโภค เสนาสนะนั้นเสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอันเก่าไปด้วยดี, ถ้าเสนาสนะนั้นยังไม่เสียหาย พึงเก็บงำไว้ตามเดิมอีก ในเมื่อที่อยู่นั้นได้ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว. เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เสนาสนะนั้นเสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ได้ เป็นสินใช้. เมื่อที่อยู่นั้น ได้ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว ต้องใช้ให้ทีเดียว.
               หากว่า ภิกษุถือเอาทัพสัมภาระทั้งหลายมีกลอนเป็นต้น จากสังฆิกาวาสนั้น ประกอบในสังฆิกาวาสอื่น ที่ประกอบแล้ว ก็เป็นอันประกอบด้วยดี. แต่ภิกษุผู้ประกอบในอาวาสส่วนตัว ต้องให้ราคาหรือต้องเอากลับคืนไว้ตามเดิม
               ภิกษุมีเถยยจิตถือเอาเตียงและตั่งเป็นต้น จากที่อยู่ที่ถูกละทิ้ง พระวินัยธรพึงปรับด้วยราคาภัณฑะ ในขณะที่ยกขึ้นทีเดียว.
               เมื่อภิกษุถือเอาใช้สอยเป็นสังฆบริโภค ด้วยตั้งใจว่า จักคืนให้ในเวลาที่ภิกษุผู้เจ้าถิ่นมาอีก เสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอันเก่าไปด้วยดี, ถ้าไม่เสียหาย พึงคืนไว้ตามเดิม, เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เสียหายไป เป็นสินใช้. ทัพสัมภาระมีประตูหน้าต่างเป็นต้น ที่ภิกษุถือเอาจากที่อยู่ที่ถูกละทิ้งนั้น ไปประสมใช้ในสังฆิกาวาส หรือในอาวาสส่วนตัว ต้องคืนให้แท้.
               บทว่า ผาติกมฺมตฺถาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การทำให้เพิ่มขึ้น. ก็เสนาสนะมีเตียงและตั่งเป็นต้นนั่นเอง ที่มีราคาเท่ากัน หรือมากกว่า เป็นผาติกรรม ย่อมควรในคำว่า เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม นี้.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ เสนาสนะขันธกะ ให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง เป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 7 / 1อ่านอรรถกถา 7 / 294อรรถกถา เล่มที่ 7 ข้อ 296อ่านอรรถกถา 7 / 317อ่านอรรถกถา 7 / 664
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=7&A=2699&Z=2802
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=8079
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=8079
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๖  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :