ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 18อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 20อ่านอรรถกถา 4 / 25อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

               อรรถกถาอุโภตาปสาทิกถา               
               บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นบัณฑิต.
               บทว่า พฺยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นผู้ฉลาด.
               บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเกิดขึ้นฉับพลัน.๑-
               บทว่า อปฺปรชกฺขชาติโก มีความว่า จัดว่าเป็นผู้มีชาติแห่งคนไม่มีกิเลส คือเป็นคนหมดจด เพราะข่มกิเลสไว้ด้วยสมาบัติ.
               บทว่า อาชานิสฺสติ ได้แก่ จักกำหนดได้ คือจักแทงตลอด.
               หลายบทว่า ภควโตปิ โข ญาณํ อุทปาทิ มีความว่าพระสัพพัญญุตญาณได้เกิดขึ้นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนั้นทำกาลกิริยาแล้ว ไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ ในเวลา ๗ วัน ตั้งแต่วันนี้ไป.
               บทว่า มหาชานิโย มีอรรถวิเคราะห์ว่า ความเสื่อมใหญ่ชื่อว่ามีแก่เธอ เพราะเป็นผู้เสื่อมเสียจากมรรคผลที่จะพึงบรรลุ ในภายใน ๗ วัน เพราะฉะนั้น เธอจึงชื่อผู้มีความเสื่อมใหญ่. อนึ่ง ชื่อผู้มีความเสื่อมใหญ่ เพราะเกิดในอักขณะ.๒-
               บทว่า อภิโทสกาลกโต มีความว่า ได้ทำกาลกิริยาเสียเมื่อวันวาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นว่า แม้อุทกดาบสนั้นก็เกิดแล้วในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ.
____________________________
๑- ฐานศัพท์ลงในอรรถว่า ขณ คือ พลัน ทันทีทันใด เช่นในคำว่า ฐานโส อุปกปฺปติ. อนึ่ง คำนี้ก็มีคำไขไว้ในแก้อรรถ บทว่า วีมํสาย หน้า ๒๓๔ ข้างหน้า
๒- สมัยมิใช่คราวมีพระพุทธเจ้า.

               บทว่า พหูปการา คือ ผู้มีอุปการะมาก.
               บทว่า ปธานปหิตตฺตํ มีความว่า ผู้ยอมตัวเพื่อประโยชน์แก่ความเพียร.
               บทว่า อุปฏฺฐหึสุ มีความว่า ได้บำรุงด้วยวัตรมีให้น้ำบ้วนปากเป็นต้น.
               หลายบทว่า อนฺตรา จ โพธึ อนุตรา จ คยํ มีความว่า อาชีวกชื่ออุปกะ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ระหว่างโพธิมัณฑ์กับแม่น้ำคยาต่อกัน.
               บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺนํ มีความว่า เสด็จดำเนินทางไกล.
               บทว่า สพฺพาภิภู มีความว่า เราครอบงำไตรภูมิกธรรมทั้งปวง.
               บทว่า สพฺพวิทู มีความว่า ได้รู้ คือได้เข้าใจธรรมที่มี ๔ ภูมิทั้งหมด.
               บาทพระคาถาว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต ความว่า อันเครื่องฉาบทาคือกิเลส ฉาบทาไม่ได้ในไตรภูมิกธรรมทั้งปวง.
               บทว่า สพฺพญฺชโห ความว่า ตัดไตรภูมิกธรมทั้งปวงได้ขาด.
               บทว่า ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต ความว่า เป็นผู้พ้นวิเศษ เพราะธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาคือนิพพาน ด้วยอำนาจทำให้เป็นอารมณ์.
               บทว่า สยํ อภิญฺญาย ได้แก่ เรารู้ธรรมมี ๔ ภูมิทั้งหมดด้วยตนเอง.
               บทว่า กมุทฺทิเสยฺยํ ความว่า จะพึงอ้างเอาใครคือคนอื่นว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์เราเล่า.
               หลายบทว่า น เม อาจริโย อตฺถิ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาจารย์ในโลกุตตรธรรมของเราย่อมไม่มี.
               หลายบทว่า นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล มีความว่า ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้เปรียบปานกับเราย่อมไม่มี.
               บทว่า สีติภูโต มีความว่า จัดว่าเป็นผู้มีความเย็นใจ เพราะดับไฟคือกิเลสเสียทั้งหมด.
               บทว่า นิพฺพุโต มีความว่า จัดว่าเป็นผู้ดับแล้ว เพราะกิเลสทั้งหลายนั่นเองดับไป.
               สองบทว่า กาสีนํ ปุรํ ได้แก่ เมืองหลวงในแคว้นของชาวกาสี.
               บาทคาถาว่า อหญฺญึ อมตทุนฺทภึ มีความว่า เราจะไปด้วย คิดว่าจักตีกลองอมฤตเพื่อได้ดวงตาเห็นธรรม.
               สองบทว่า อรหสิ อนนฺตชิโน มีความว่า ท่านสมควรเป็นผู้ชำนะไม่มีที่สุดจริง.
               บทว่า หุเวยฺยาวุโส มีความว่า ผู้มีอายุพึงเป็นได้ถึงอย่างนั้นเทียวนะ.๓-
____________________________
๓- ในปฐมสมโพธิว่า ดูก่อนอาวุโส นามว่า อนันตชิโน พึงเป็นชื่อได้.

               สองบทว่า สีสํ โอกมฺเปตฺวา ได้แก่ สั่นศีรษะ.
               บทว่า สณฺเปสุํ คือ ได้ทำกติกา.
               บทว่า พาหุลฺลิโก ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มีจีวรมากเป็นต้น.
               บทว่า ปธานวิพฺภนฺโต ได้แก่ เป็นผู้คลายเสียแล้ว คือตกเสียแล้ว เสื่อมเสียแล้ว จากความเพียร.
               สองบทว่า อาวตฺโต พาหุลฺลาย ได้แก่ ผู้เวียนมาเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มักมากด้วยปัจจัยมีจีวรเป็นต้น.
               หลายบทว่า โอทหถ ภิกฺขเว โสตํ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านจงเงี่ยโสต คือจงทำโสตินทรีย์ให้บ่ายหน้า เพื่อฟังธรรม.
               ด้วยสองบทว่า อมตมธิคตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าพระนิพพานเป็นธรรมไม่ตาย เราได้บรรลุแล้ว.
               บทว่า จริยาย คือ ด้วยความประพฤติที่ทำได้ยาก.
               บทว่า ปฏิปทาย ได้แก่ ด้วยข้อปฏิบัติที่ทำได้ยาก.
               หลายบทว่า อภิชานาถ เม โน มีความว่า ท่านทั้งหลายจำได้อยู่ คือเล็งเห็นอยู่หรือ ได้แก่ซึ่งภาษิตเห็นปานนี้ของเรา.
               บทว่า เอวรูปํ ภาสิตเมตํ ได้แก่ ความเผยกล่าวเห็นปานนี้.
               ข้อว่า อสกฺขิ โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขูสฺาเปตุํ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอาจให้ภิกษุเบญจวัคคีย์ทราบว่า พระองค์ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว.
               บทว่า จกฺขุกรณี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาดวงตา คือปัญญา.
               ต่อจากนี้ไปทุกบท ว่าโดยใจความเฉพาะบทแล้ว เป็นคำตื้นๆ ทั้งนั้น ว่าโดยต่างแห่งอธิบายอนุสนธิและคำประกอบพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งมัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี๔- เถิด. และตั้งแต่นี้ไป เมื่อข้าพเจ้าจะคอยรักษาน้ำใจของมหาชน ผู้ขยาดต่อความพิสดารเกินไป จำต้องไม่พรรณนาสุตตันตกถา จักพรรณนาแต่วินัยกถาเท่านั้น.
____________________________
๔- ป. สู. ๑๔๔.

               ข้อว่า สา ว ตสฺส อายสฺมโต อุปสมฺปทา อโหสิ มีความว่า ในวันเพ็ญเดือนแปด เมื่อพระผู้มีอายุโกณฑัญญะกับเทวดาสิบแปดโกฏิตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระวาจานั้นแล ซึ่งสำเร็จด้วยพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ได้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาของพระผู้มีอายุนั้น.
               ในคำว่า อถ โข อายสฺมโต จ วปฺปสฺส เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า
               ในวันแรมค่ำหนึ่ง ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแก่พระวัปปเถระ ในวันแรม ๒ ค่ำได้เกิดขึ้นแก่พระภัททิยเถระ ในวันแรม ๓ ค่ำได้เกิดแก่พระมหานามเถระ ในวันแรม ๔ ค่ำ ได้เกิดขึ้นแก่พระอัสสชิเถระ. ก็แลเพื่อชำระมลทินซึ่งเกิดขึ้นในกัมมัฏฐานของภิกษุเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จอยู่ภายในวิหารเท่านั้น. เมื่อมลทินแห่งกัมมัฏฐานเกิดขึ้นทีไร ก็ได้เสด็จลงมาทางอากาศแล้วทรงชำระเสีย.
               ก็แลในวันแรม ๕ ค่ำแห่งปักษ์พระองค์ให้เธอทั้งหมดประชุมพร้อมกันแล้วตรัสสอนด้วยอนัตตสูตร.๕- เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า อถโข ภควา ปญฺจวคฺคิเย เป็นต้น.
               ข้อว่า เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ มีความว่า ในวันแรม ๕ ค่ำ มนุษย์ ๖ คน เป็นพระอรหันต์ในโลก.
____________________________
๕- อนัตตลักขณสูตร มหาวคฺค. ปฐม. ๒๔

               อรรถกถาอุโภตาปสาทิกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 18อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 20อ่านอรรถกถา 4 / 25อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=479&Z=575
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=342
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=342
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :