ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 104อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 108อ่านอรรถกถา 4 / 109อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
ห้ามบวชคนมีหนี้

               อรรถกถาอิณายิกวัตถุกถา               
               ในคำว่า น ภิกฺขเว อิณายิโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า
               หนี้ที่บิดาและปู่ของบุรุษใด กู้เอาไปก็ดี หนี้ที่บุรุษใดกู้เองก็ดี ทรัพย์บางอย่างที่มารดาบิดามอบบุตรใดไว้เป็นประกันแล้วลืมเอาไปก็ดี บุรุษนั้นชื่อว่าลูกหนี้ บุรุษนั้นต้องรับหนี้นั้นของชนเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าลูกหนี้ แต่ญาติอื่นๆ มอบบุตรใดไว้เป็นประกัน แล้วยืมทรัพย์บางอย่างไป บุรุษนั้นไม่จัดว่าเป็นลูกหนี้. เพราะว่าญาติอื่นๆ นั้น ไม่เป็นใหญ่ที่จะมอบบุรุษนั้นไว้เป็นประกันได้, เพราะเหตุนั้น จะให้บุรุษนั้นบวช สมควรอยู่. จะให้บุรุษนอกจากนี้บวช ไม่ควร.
               แต่ถ้าญาติสาโลหิตทั้งหลายของเขารับใช้หนี้แทนว่า พวกข้าพเจ้าจักรับใช้ ขอท่านโปรดให้บวชเถิด หรือว่า ชนอื่นบางคนเห็นอาจารสมบัติของเขาแล้วกล่าวว่า ขอท่านจงให้เขาบวชเถิด ข้าพเจ้าจะใช้หนี้แทน ดังนี้ สมควรให้บวชได้.
               เมื่อเข้าในที่ใด ให้ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำโจรกรรมหรือความผิดในพระราชาอย่างหนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในที่ใด พึงจับฆ่าเสียในที่นั้น หรือว่า พึงตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่าพึงให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้ ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควรให้บวช.
               ในคำว่า กสาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า
               ผู้ใดไม่ยอมทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา, ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลงทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่างโดยเป็นส่วย หรือโดยประการอื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จงเป็นสินไหมของเจ้า ผู้นี้ชื่อผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แลเขาจะถูกเฆี่ยนด้วยหวายหรือถูกด้วยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จงยกไว้, แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลายให้กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.
               อนึ่ง ถ้าผู้ใดถูกเขาทำร้ายด้วยเข่าหรือด้วยศอก หรือด้วยผลมะพร้าวและก้อนหินเป็นต้นแล้วปล่อยไป และบวมโนในร่างกายของผู้นั้นยังปรากฎอยู่ ไม่ควรให้บวช. ผู้นั้นกระทำให้หายแล้ว เมื่อบวมโนอย่างนั้นยุบราบไปแล้ว ควรให้บวช.
               ในคำว่า ลกฺขณาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า
               ข้อที่ญาติสาโลหิตเหล่านั้นไม่มี ภิกษุพึงบอกแก่อุปัฎฐากเห็นปานนั้นก็ได้ว่า ผู้นี้เป็นบุคคลมีกุศลกรรมเป็นเหตุ แต่บวชไม่ได้เพราะกังวลด้วยหนี้. ถ้าเขารับจัดการ พึงให้บวช. ถ้าแม้กัปปิยภัณฑ์ของตนมี พึงตั้งใจว่า เราจักเอากัปปิยภัณฑ์นั้นใช้ให้ แล้วให้บวช. แต่ถ้าชนทั้งหลายมีญาติเป็นต้นไม่รับจัดการทรัพย์ของตนก็ไม่มี ไม่สมควรให้บวช ด้วยทำในใจว่า เราจักให้บวชแล้วจักเที่ยวภิกษาเปลื้องหนี้ให้. ถ้าให้บวช ต้องทุกกฎ. แม้บุรุษนั้นหนีไป ภิกษุนั้นก็ต้องนำมาคืนให้. ถ้าไม่คืนให้ หนี้ทั้งหมดย่อมเป็นสินใช้.
               เมื่อภิกษุไม่ทราบ ให้บวชไม่เป็นอาบัติ. แต่เมื่อพบปะเข้าต้องนำมาคืนให้แก่พวกเจ้าหนี้. ไม่เป็นสินใช้แก่ภิกษุผู้ไม่พบปะ. หากบุรุษผู้เป็นลูกหนี้ไปประเทศอื่นแล้ว แม้เมื่อภิกษุไต่ถามก็ตอบว่า ผมไม่ต้องรับหนี้ไรๆ ของใครๆ แล้วบวช. ฝ่ายเจ้าหนี้เมื่อสืบเสาะหาตัวเขา จึงไปในประเทศนั้น. ภิกษุหนุ่มเห็นเจ้าหนี้นั้นเข้าจึงหนีไปเสีย. เขาเข้าไปหาพระเถระ ร้องเรียนว่า ท่านขอรับ ภิกษุรูปนี้ใครให้บวช? เธอยืมทรัพย์มีประมาณเท่านี้ของผมแล้วหนีไป. พระเถระพึงตอบว่า อุบาสก เธอบอกว่าผมไม่มีหนี้สิน ฉันจึงให้บวช. บัดนี้ฉันจะทำอย่างไรเล่า? ท่านจงเห็นสิ่งของมาตรว่า บาตรจีวรของฉันเถอะ นี้เป็นสามีจิกรรมในข้อนั้น. และเมื่อภิกษุนั้นหนีไป สินใช้ย่อมไม่มี.
               แต่ถ้าเจ้าหนี้พบภิกษุนั้นต่อหน้าพระเถระเทียว แล้วกล่าวว่า ภิกษุนี้เป็นลูกหนี้ของผม. พระเถระพึงตอบว่า ท่านจงรู้ลูกหนี้ของท่านเอาเองเถิด แม้อย่างนี้ย่อมไม่เป็นสินใช้. ถ้าแม้เขากล่าวว่า บัดนี้ ภิกษุนี้บวชแล้วจักไปไหนเสีย. พระเถระจึงตอบว่า ท่านจงรู้เองเถิด แม้อย่างนี้ เมื่อภิกษุนั้นหนีไป ย่อมไม่เป็นสินใช้แก่พระเถระนั้น. แต่ถ้าพระเถระกล่าวว่า บัดนี้ ภิกษุนี้จักไปไหนเสีย เธอจงอยู่ที่นี่แหละ ถ้าภิกษุนั้นหนีไป ต้องเป็นสินใช้. ถ้าเธอเป็นผู้มีกุศลกรรมเป็นเหตุถึงพร้อมด้วยวัตร. พระเถระพึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ เป็นเช่นนี้. ถ้าเจ้าหนี้ยอมสละว่า ดีละ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ได้เป็นการดี. ก็ถ้าเขาตอบว่า ขอท่านจงใช้ให้เล็กน้อยเถิด พระเถระพึงใช้ให้.
               ต่อสมัยอื่น ภิกษุนั้นเป็นผู้ยังพระเถระให้พอใจยิ่งขึ้น แม้เมื่อเจ้าหนี้เขาทวงว่า ท่านจงใช้ทั้งหมด พระเถระควรใช้ให้แท้. และถ้าเธอเป็นผู้ฉลาดในอุทเทสแลปริปุจฉาเป็นต้น มีอุปการะมากแก่ภิกษุทั้งหลาย พระเถระจะพึงแสวงหาด้วยภิกษาจารวัตรก็ได้ ใช้หนี้เสียเถิด ฉะนี้แล.

               อรรถกถาอิณายิกวัตถุกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ ห้ามบวชคนมีหนี้ จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 104อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 108อ่านอรรถกถา 4 / 109อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3020&Z=3031
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1342
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1342
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๔  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :