ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 383อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 387อ่านอรรถกถา 2 / 392อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๗

               เสนาสนวรรค นิกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗               
               พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

               [ว่าด้วยสถานที่และกิริยาที่ฉุดคร่า]               
               ข้อว่า อเกน ปโยเคน พหุเกปิ ทฺวาเร อติกฺกาเมติ มีความว่า ในเสนาสนะทั้งหลาย เช่นปราสาท ๔ ชั้น ๕ ชั้นก็ดี ศาลา ๔ เหลี่ยมจตุรัสมีซุ้มประตู ๖-๗-๘ ซุ้มก็ดี ภิกษุจับที่แขนทั้งสอง หรือที่คอให้ก้าวออกไปด้วยประโยคเดียว ไม่พักในระหว่าง, เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อหยุดเป็นพักๆ ให้ก้าวออกไปด้วยประโยคต่างๆ เป็นปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนประตู. แม้เมื่อไม่เอามือจับต้องฉุดออกไปด้วยวาจา กล่าวว่า จงออกไป ก็นัยนี้นั่นแล.
               วินิจฉัยในคำว่า อญฺญํ อาณาเปติ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               เพียงแต่สั่งว่า จงฉุดภิกษุนี้ออกไป เป็นทุกกฏ. ถ้าภิกษุผู้ได้รับสั่งคราวเดียวนั้นให้ก้าวพ้นประตูแม้หลายแห่ง ก็ต้องปาจิตตีย์ตัวเดียว. แต่ถ้าว่า เธอได้รับสั่งกำหนดอย่างนี้ว่า จงฉุดผ่านประตูเท่านี้ออกไปก็ดี ว่า จงฉุดไปจนถึงประตูใหญ่ ดังนี้ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ตามจำนวนประตู.
               สองบทว่า ตสฺส ปริกฺขารํ มีความว่า ภิกษุใดขนออกเองก็ดี ใช้ให้ขนออกก็ดี ซึ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นของส่วนตัวแห่งภิกษุนั้น เช่น บาตร จีวร ธมกรกกรองน้ำ เตียงตั่ง ฟูกและหมอนเป็นต้นโดยที่สุดแม้สะเก็ดน้ำย้อม เป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้นหลายตัว ตามจำนวนแห่งวัตถุ. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ในสิ่งของเหล่านั้น อันเจ้าของผูกมัดไว้แน่น เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น.
               วินิจฉัยแม้ในคำว่า อญฺญสฺส ปุคฺคลิเก นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               ของส่วนตัวแห่งบุคคลผู้คุ้นเคย เช่นเดียวกับของส่วนตัวของตนนั่นแล. ก็ในที่ทุกๆ แห่ง ผู้ศึกษาพึงทราบนัยเหมือนในคำนี้. แต่ในที่ใดจักมีความแปลกกัน พวกเราจักกล่าวไว้ในที่นั้น.
               วินิจฉัยในคำว่า อลชฺชึ นิกฺกฑฺฒติ วา นิกฺกฑฺฒาเปติ วา เป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-
               ภิกษุย่อมได้เพื่อจะขับไล่ภิกษุผู้ทำความบาดหมางและผู้ทำความทะเลาะกันเท่านั้น ออกจากสังฆารามทั้งสิ้น. เพราะว่า เธอได้พรรคพวกแล้ว พึงทำลายสงฆ์ก็ได้. ส่วนพวกภิกษุอลัชชีเป็นต้น ภิกษุพึงฉุดออกจากที่อยู่ของตนเท่านั้น จะขับเธอเหล่านั้นออกจากสังฆารามทั่วไป ไม่ควร.
               บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เป็นบ้าเอง.
               บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนี้แล.

               นิกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๗ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 383อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 387อ่านอรรถกถา 2 / 392อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=9009&Z=9091
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7254
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7254
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :