ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 117อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 128อ่านอรรถกถา 2 / 138อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๒

               นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๒               
               พรรณนาอูนปัญจพันธนสิกขาบท               
               อูนปัญจพันธนสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :-
               ในอูนปัญจพันธนสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า น ยาเปติ มีความว่า นัยว่า ช่างหม้อนั้นถูกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้นรบกวนอย่างนี้ ถ้าจักไม่ได้เป็นพระอริยสาวกแล้ว คงจักถึงความเสียใจเป็นอย่างอื่นไปก็ได้. แต่เพราะเขาเป็นโสดาบัน ตัวเองอย่างเดียวเท่านั้นไม่พอเลี้ยงชีพ. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.

               [อธิบายบาตรมีที่ผูกหย่อน ๕ แห่งเป็นต้น]               
               ในบทว่า อูนปญฺจพนฺธเนน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บาตรที่ชื่อว่า มีที่ผูกหย่อน ๕ แห่ง เพราะมีแผลหย่อน ๕ แห่ง.
               อธิบายว่า บาตรนั้นมีแผลยังไม่ครบเต็ม ๕ แห่ง. มีบาตร มีแผลหย่อน ๕ นั้น. (บทนี้เป็น) ตติยาวิภัตติ ลงในลักษณะแห่งอิตถัมภูต, ในพากโยปัญญาสนั้น แม้บาตรยังไม่มีแผล จะมีแผลครบ ๕ แห่ง ไม่ได้ เพราะยังไม่มีโดยประการทั้งปวง ฉะนั้น ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อพนฺธโน วา เป็นต้น และเพราะตรัสคำว่า มีแผลหย่อน ๕ แห่ง ดังนี้ ภิกษุใดมีบาตรมีแผลครบ ๕ แห่ง. บาตรนั้นของภิกษุนั้น ไม่จัดเป็นบาตร เพราะฉะนั้น จึงควรขอบาตรใหม่ได้. ก็เพราะขึ้นชื่อว่าแผลนี้เมื่อมีท่าจะมีแผล จึงมีได้ เมื่อไม่มีท่าจะมีแผล ก็ไม่มี ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงลักษณะแห่งผลนั้น จึงตรัสคำว่า อพนฺธโนกาโส นาม เป็นต้น.
               คำว่า ทฺวงฺคุลราชิ น โหติ ได้แก่ ไม่มีรอยร้าวแม้รอยเดียว ยาวประมาณสององคุลี ภายใต้ขอบปาก.
               คำว่า ยสฺส ทฺวงฺคุลราชิ โหติ มีความว่า บาตรที่มีรอยร้าวรอยเดียวเช่นนี้ พึงเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะที่สุดริมล่างของรอยร้าวนั้น ระบมแล้วผูกรัดด้วยเชือกด้าย และเชือกปอเป็นต้น หรือด้วยลวดดีบุก. พึงอุดแผลนั้นด้วยแผ่นดีบุก หรือด้วยยางสำหรับติดบางอย่างเพื่อกันอามิสติด. และบาตรนั้นพึงอธิษฐานไว้ใช้เถิด.
               อนึ่ง พึงผูกทำช่องให้เล็ก. แต่จะยาด้วยขี้ผึ้ง ครั่งและยางสนเป็นต้นล้วนๆ ไม่ควร. จะเคี่ยวน้ำอ้อยด้วยผงหิน ควรอยู่. แต่บาตรที่ภิกษุเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะในที่ใกล้ขอบปาก จะแตก เพราะแผ่นเหล็กหนา เพราะฉะนั้น จึงควรเจาะข้างล่าง. แต่สำหรับบาตรที่มีรอยร้าว ๒ แห่ง. หรือเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๔ องคุลี ควรให้เครื่องผูก ๒ แห่ง. พึงให้เครื่องผูก ๓ แห่งแก่บาตรที่มีรอยร้าว ๓ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียว แต่ยาวถึง ๖ องคุลี. พึงให้เครื่องผูก ๔ แห่ง แก่บาตรที่มีรอยร้าว ๔ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๘ องคุลี บาตรที่รอยร้าว ๕ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๑๐ องคุลี จะผูกก็ตาม ไม่ผูกก็ตาม ไม่จัดเป็นบาตรเลย, ควรขอบาตรใหม่. นี้เป็นวินิจฉัยในบาตรดินก่อน.
               ส่วนวินิจฉัยในบาตรเหล็ก พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
               ถ้าแม้นมีช่องทะลุ ๕ แห่ง หรือเกินกว่า, และช่องทะลุเหล่านั้นอุดด้วยผงเหล็กด้วยหมุด หรือด้วยก้อนเหล็กกลมๆ เป็นของเกลี้ยงเกลา, ควรใช้สอยบาตรนั้นนั่นแล, ไม่ควรขอบาตรใหม่. แต่ถ้ามีช่องทะลุแม้ช่องเดียว แต่เป็นช่องใหญ่, แม้อุดด้วยก้อนเหล็กกลมๆ ก็ไม่เกลี้ยงเกลา, อามิสติดที่บาตรได้ เป็นอกัปปิยะ, บาตรนี้ไม่ใช่บาตร ควรขอบาตรใหม่ได้.
               สองบทว่า เถโร วตฺตพฺโพ มีความว่า ภิกษุแสดงอานิสงส์ในบาตรแล้ว พึงเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ! บาตรใบนี้มีขนาดถูกต้อง สวยดี สมควรแก่พระเถระ, ขอท่านโปรดรับบาตรนั้นไว้เถิด.
               สองบทว่า โย น คณฺเหยฺย มีความว่า เมื่อพระเถระไม่รับไว้ เพื่ออนุเคราะห์เป็นทุกกฏ. แต่เพราะความสันโดษ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รับด้วยคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยบาตรใบอื่น.
               บทว่า ปตฺตปริยนฺโต ได้แก่ บาตรที่เปลี่ยนกันอย่างนี้ตั้งอยู่ท้ายสุด.
               บทว่า อเทเส มีความว่า ภิกษุนั้นไม่พึงเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่ไม่ควร มีเตียงตั่งร่มไม้ฟันนาคเป็นต้น. พึงเก็บไว้ในที่ที่ตนเก็บบาตรดีใบก่อนไว้นั่นแล. ความจริง ที่เก็บบาตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในขันธกะนั่นแลโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงรองบาตร ดังนี้.
               บทว่า น อโภเคน คือ ไม่พึงใช้บาตรโดยการใช้ไม่สมควร มีการต้มข้าวต้มและต้มน้ำย้อมเป็นต้น. แต่เมื่อเกิดอาพาธในระหว่างทาง เมื่อภาชนะอื่นไม่มี จะเอาดินเหนียวพอกแล้วต้มข้าวต้ม หรือต้มน้ำร้อน ควรอยู่.
               บทว่า น วิสฺสชฺเชตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรให้แก่คนอื่น. แต่ถ้าว่า สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกวางบาตรที่ดีใบอื่นไว้แทนถือเอาไปด้วยคิดว่า บาตรนี้ ควรแก่เรา, บาตรนี้ควรแก่พระเถระ ดังนี้ ควรอยู่. หรือภิกษุอื่นถือเอาบาตรใบนั้นแล้วถวายบาตรของตน ก็ควร. ไม่มีกิจที่ต้องกล่าวว่า เธอจงเอาบาตรของเรานั่นแหละมา.
               ก็ในบทว่า ปวาริตานํ นี้ มีอธิบายว่า ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า ภิกษุมีบาตรเป็นแผลเพียง ๕ แห่ง จะขอบาตรใหม่ในที่ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรอยู่, ถึงมีบาตรเป็นแผลหย่อน ๕ แห่ง จะขอในที่ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งบุคคล ก็ควร ดังนี้.
               คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

               อูนปัญจพันธนสิกขาบท จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 117อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 128อ่านอรรถกถา 2 / 138อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=3081&Z=3451
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5220
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5220
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๖  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :