ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ถปติสูตร
ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ
[๑๔๓๔] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาค ด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน. [๑๔๓๕] ก็สมัยนั้น พวกช่างไม้ผู้เคยเป็นพระสกทาคามีนามว่า อิสิทัตตะ อยู่อาศัย ในหมู่บ้านส่วยด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกเขาได้ฟังข่าวว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระ ผู้มีพระภาคด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จะเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน จึงวาง บุรุษไว้ในหนทางโดยสั่งว่า ดูกรผู้บุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาในเวลาใด พึงบอกพวกเราในเวลานั้น บุรุษนั้นอยู่มาได้ ๒-๓ วัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาค เสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาพวกช่างไม้แล้วได้บอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังเสด็จมา ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด. [๑๔๓๖] ครั้งนั้น พวกช่างไม้ผู้เคยเป็นพระสกทาคามีนามว่า อิสิทัตตะเข้าไปเฝ้าพระผู้ มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วเดินตามพระผู้มีพระภาคไปข้างพระปฤษฎางค์ พระผู้มี พระภาคทรงแวะจากหนทางเสด็จเข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาด ถวาย พวกช่างไม้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ ทูลว่า [๑๔๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาค ว่า จักเสด็จจาริกจากพระนครสาวัตถีไปในโกศลชนบท เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากนครสาวัตถีไปในโกศลชนบทแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างจากเราไปแล้ว. [๑๔๓๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระ- *ภาคว่า จักเสด็จจาริกจากโกศลชนบทไปยังแคว้นมัลละ เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจากโกศลชนบทไปแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจ ว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว. [๑๔๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระ- *ภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว. [๑๔๔๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระ- *ภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อย ใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว. [๑๔๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาค ว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธ เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจ เป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว. [๑๔๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาค ว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมคธมายังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้ม ใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จ จาริกจากแคว้นมคธมายังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว. [๑๔๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นกาสีมายังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จ จาริกจากแคว้นกาสีมายังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว. [๑๔๔๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมายังแคว้นมัลละ เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ ดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมายังแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว. [๑๔๔๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นมัลละมายังแคว้นโกศล เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้ มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมายังแคว้นโกศลแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมี ความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว. [๑๔๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศลมายังพระนครสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมี ความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจเป็นอันมากว่า พระผู้มี พระภาคใกล้เราแล้ว. [๑๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท. [๑๔๔๘] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้มีอยู่หรือหนอ? พ. ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ก็ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่า เป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้เป็นไฉน? [๑๔๔๙] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อใดพระเจ้าปเสนทิ- *โกศลมีพระราชประสงค์จะเสด็จออกไปยังพระราชอุทยาน เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องกำหนด ช้างที่ขึ้นทรงของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วให้พระชายาซึ่งเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระราช- *หฤทัยของพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับข้างหน้าพระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง กลิ่นของ พระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกลิ่นของนางราชกัญญาผู้ปะพรมด้วยของหอมดังขวด น้ำหอมที่เขาเปิดในขณะนั้น กายสัมผัสของพระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกายสัมผัส ของนางราชกัญญาผู้ดำรงอยู่ด้วยความสุข ดังปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ก็ในสมัยนั้น แม้ช้างข้าพระองค์ ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้พระชายาทั้งหลายข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล เล่า ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง. [๑๔๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่รู้สึกว่า จิตอันลามกบังเกิดขึ้น ในพระชายาเหล่านั้นเลย ข้อนี้แล คือความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับ ว่า เป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้. [๑๔๕๑] พ. ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสจึงคับแคบ เป็นทาง มาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ก็ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท. [๑๔๕๒] ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีใจ ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควร แก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้ในเบื้องหน้า. [๑๔๕๓] ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ก็ไทยธรรมสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีอยู่ใน ตระกูล ท่านทั้งหลายเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมด กับผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ท่านทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน? เหมือนว่า พวกมนุษย์ในแคว้นโกศลมีเท่าไร ท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปัน ให้เท่าๆ กัน. ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ดี แล้ว ที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบพฤติการณ์อย่างนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๘๓๓๘-๘๔๔๐ หน้าที่ ๓๔๙-๓๕๓. https://84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=19&A=8338&Z=8440&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/_mcu/m_siri.php?B=19&siri=324              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1434              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1434-1453] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1434&items=20              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7811              The Pali Tipitaka in Roman :- [1434-1453] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=1434&items=20              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7811              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.6/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :