ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๐. สังคีติสูตร (๓๓)
-----------------------
[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงนครของพวกมัลลกษัตริย์อัน มีนามว่า ปาวา ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของนายจุนทกัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ [๒๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์จะได้อยู่อาศัย พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครปาวาโดยลำดับ กำลังประทับอยู่ ณ สวน มะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่าอุพภตกะ ของ พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์จะได้อยู่อาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงเสด็จประทับ ณ ท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับก่อนแล้ว ภายหลังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาจึงจักใช้สอย การเสด็จประทับก่อนของพระผู้มี พระภาคนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้ามัลละ แห่งนครปาวาสิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพแล้ว ฯ ครั้นพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้ทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาค แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว พากันไปยัง ท้องพระโรง ครั้นแล้วจึงปูลาดท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้ง หม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงพวกข้าพระองค์ปูลาดพร้อมสรรพแล้ว อาสนะก็แต่งตั้งไว้แล้ว หม้อน้ำก็ให้ตั้งไว้แล้ว ประทีปน้ำมันก็ตามไว้แล้ว พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้ ฯ [๒๒๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรง ถือบาตรจีวรเสด็จไปยังท้องพระโรง พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปยังท้องพระโรง ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา แม้พระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วพากันเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านหลัง ผิน หน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาค แม้พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ก็พากันล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านบูรพา ผินหน้าไปทางทิศ ปัจฉิมแวดล้อมพระผู้มีพระภาค ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้ว ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีล่วงมากแล้ว บัดนี้พวก ท่านจงสำคัญเวลาอันสมควรเถิด พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้พร้อมกันรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ [๒๒๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา หลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นิ่งอยู่แล้วได้รับสั่งกะท่านพระสารี- *บุตรว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ สารีบุตรจงแสดงธรรมีกถา แก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้น เราพึงพักผ่อน ท่านพระสารีบุตรได้ รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคด้วยคำว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้ ลำดับนั้น แล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำความหมายในอันที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย ฯ [๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล นิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วที่นครปาวาไม่ นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิด แยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทง กันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่าน จักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของ ข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่าน กลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านช่ำชอง มาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้ เห็นจะมีแต่ความ ตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ถึงพวก สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวก็มีอาการเบื่อหน่าย คลาย ความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้เพราะธรรมวินัย อันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมา- *สัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัย ไม่มีที่พึ่งอาศัย ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วที่พระนครปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่ว ถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าว ก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น จงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวก ของนาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มี อาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของ นาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลาย เสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึงอาศัย ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นดังกล่าวมาสำหรับในธรรมวินัยที่ กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนธรรมนี้แล อันพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้ดี แล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมด ด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะ พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็น ไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวก เราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหม- *จรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข แก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ สุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๒๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวก เราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหนึ่งเป็นไฉน สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะสังขาร ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม หนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึง กล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็น ไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๒๒๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๒ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ เป็นไฉน นามและรูป ๑ อวิชชาและภวตัณหา ๑ ภวทิฐิและวิภวทิฐิ ๑ ความไม่ละอายและความไม่เกรง กลัว ๑ ความละอายและความเกรงกลัว ๑ ความเป็นผู้ว่ายากและความเป็นผู้มี มิตรชั่ว ๑ ความเป็นผู้ว่าง่ายและความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ และความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติและ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุและความเป็น ผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะและความเป็นผู้ฉลาดใน ปฏิจจสมุปบาท ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ [คือเหตุที่เป็นได้] และความเป็นผู้ฉลาด ในอัฏฐานะ [คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้] ๑ การกล่าววาจาอ่อนหวานและการต้อนรับ ๑ ความไม่เบียดเบียนและความสะอาด ๑ ความเป็นผู้มีสติหลงลืมและความเป็นผู้ไม่ มีสัมปชัญญะ ๑ สติและสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน อินทรีย์ทั้งหลาย และความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ กำลังที่เกิดแต่การ พิจารณาและกำลังที่เกิดแต่การอบรม ๑ กำลังคือสติและกำลังคือสมาธิ ๑ สมถะ และวิปัสสนา ๑ นิมิตที่เกิดเพราะสมถะและนิมิตที่เกิดเพราะความเพียร ๑ ความ เพียรและความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ความวิบัติแห่งศีล และความวิบัติแห่งทิฐิ ๑ ความ ถึงพร้อมแห่งศีล และความถึงพร้อมแห่งทิฐิ ๑ ความหมดจดแห่งศีลและความหมด จดแห่งทิฐิ ๑ ความหมดจดแห่งทิฐิและความเพียรของผู้มีทิฐิ ๑ ความสลดใจและ ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้วในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ๑ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศลและความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความ เพียร ๑ วิชชาและวิมุตติ ๑ ญาณในความสิ้นไปและญาณในความไม่เกิด ๑ ดูกรผู้มี อายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๒ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรง เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้ง หมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๒
-----------------------------------------------------
หมวด ๓
[๒๒๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ อย่าง
๑. อกุศลมูล คือ โลภะ ๒. อกุศลมูล คือ โทสะ ๓. อกุศลมูล คือ โมหะ
กุศลมูล ๓ อย่าง
๑. กุศลมูล คือ อโลภะ ๒. กุศลมูล คือ อโทสะ ๓. กุศลมูล คือ อโมหะ
ทุจริต ๓ อย่าง
๑. กายทุจริต [ความประพฤติชั่วทางกาย] ๒. วจีทุจริต [ความประพฤติชั่วทางวาจา] ๓. มโนทุจริต [ความประพฤติชั่วทางใจ]
สุจริต ๓ อย่าง
๑. กายสุจริต [ความประพฤติชอบทางกาย] ๒. วจีสุจริต [ความประพฤติชอบทางวาจา] ๓. มโนสุจริต [ความประพฤติชอบทางใจ]
อกุศลวิตก ๓ อย่าง
๑. กามวิตก [ความตริในทางกาม] ๒. พยาปาทวิตก [ความตริในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาวิตก [ความตริในทางเบียดเบียน]
กุศลวิตก ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมวิตก [ความตริในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทวิตก [ความตริในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาวิตก [ความตริในทางไม่เบียดเบียน]
อกุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
๑. กามสังกัปปะ [ความดำริในทางกาม] ๒. พยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางเบียดเบียน]
กุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมสังกัปปะ [ความดำริในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่เบียดเบียน]
อกุศลสัญญา ๓ อย่าง
๑. กามสัญญา [ความจำได้ในทางกาม] ๒. พยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางเบียดเบียน]
กุศลสัญญา ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมสัญญา [ความจำได้ในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน]
อกุศลธาตุ ๓ อย่าง
๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม] ๒. พยาปาทธาตุ [ธาตุคือความพยาบาท] ๓. วิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความเบียดเบียน]
กุศลธาตุ ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมธาตุ [ธาตุคือความออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทธาตุ [ธาตุคือความไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความไม่เบียดเบียน]
ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม] ๒. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป] ๓. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]
ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป] ๒. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป] ๓. นิโรธธาตุ [ธาตุคือความดับทุกข์]
ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. หีนธาตุ [ธาตุอย่างเลว] ๒. มัชฌิมธาตุ [ธาตุอย่างกลาง] ๓. ปณีตธาตุ [ธาตุอย่างประณีต]
ตัณหา ๓ อย่าง
๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม] ๒. ภวตัณหา [ตัณหาในภพ] ๓. วิภวตัณหา [ตัณหาในปราศจากภพ]
ตัณหาอีก ๓ อย่าง
๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม] ๒. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป] ๓. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]
ตัณหาอีก ๓ อย่าง
๑. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป] ๒. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป] ๓. นิโรธตัณหา [ตัณหาในความดับสูญ] [อุจเฉททิฏฐิ]
สัญโญชน์ ๓ อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน] ๒. วิจิกิจฉา [ความลังเลสงสัย] ๓. สีลัพพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจศีลพรต]
อาสวะ ๓ อย่าง
๑. กามาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากได้] ๒. ภวาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น] ๓. อวิชชาสวะ [อาสวะคือความเขลา]
ภพ ๓ อย่าง
๑. กามภพ [ภพที่เป็นกามาวจร] ๒. รูปภพ [ภพที่เป็นรูปาวจร] ๓. อรูปภพ [ภพที่เป็นอรูปาวจร]
เอสนา ๓ อย่าง
๑. กาเมสนา [การแสวงหากาม] ๒. ภเวสนา [การแสวงหาภพ] ๓. พรหมจริเยสนา [การแสวงหาพรหมจรรย์]
วิธา การวางท่า ๓ อย่าง
๑. เสยโยหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราประเสริฐกว่าเขา] ๒. สทิโสหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเสมอกับเขา] ๓. หีโนหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเลวกว่าเขา]
อัทธา ๓ อย่าง
๑. อดีตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอดีต] ๒. อนาคตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอนาคต] ๓. ปัจจุบันนอัทธา [ระยะกาลที่เป็นปัจจุบัน]
อันตะ ๓ อย่าง
๑. สักกายอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน] ๒. สักกายสมุทยอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน] ๓. สักกายนิโรธอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน]
เวทนา ๓ อย่าง
๑. สุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข] ๒. ทุกขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์] ๓. อทุกขมสุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข]
ทุกขตา ๓ อย่าง
๑. ทุกขทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์] ๒. สังขารทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร] ๓. วิปริณามทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน]
ราสี ๓ อย่าง
๑. มิจฉัตตนิยตราสี [กองคือความผิดที่แน่นอน] ๒. สัมมัตตนิยตราสี [กองคือความถูกที่แน่นอน] ๓. อนิยตราสี [กองคือความไม่แน่นอน]
กังขา ๓ อย่าง
๑. ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อ ลงไปได้ ไม่เลื่อมใส ๒. ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆ แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อ ลงไปได้ ไม่เลื่อมใส ๓. ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลง ไปได้ ไม่เลื่อมใส
ข้อที่ไม่ต้องรักษาของพระตถาคต ๓ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีกายสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคต มิได้มีความประพฤติชั่วทางกายที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้ ดังนี้ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคต มิได้มีความประพฤติชั่วทางวาจาที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คน อื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางวาจาของเรานี้ ดังนี้ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคต มิได้มีความประพฤติชั่วทางใจที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้ ดังนี้
กิญจนะ ๓ อย่าง
๑. ราคกิญจนะ [เครื่องกังวลคือราคะ] ๒. โทสกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโทสะ] ๓. โมหกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโมหะ]
อัคคี ๓ อย่าง
๑. ราคัคคิ [ไฟคือราคะ] ๒. โทสัคคิ [ไฟคือโทสะ] ๓. โมหัคคิ [ไฟคือโมหะ]
อัคคีอีก ๓ อย่าง
๑. อาหุเนยยัคคิ [ไฟคืออาหุเนยยบุคคล] ๒. ทักขิเณยยัคคิ [ไฟคือทักขิเณยยบุคคล] ๓. คหปตัคคิ [ไฟคือคฤหบดี]
รูปสังคหะ ๓ อย่าง
๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่เป็นไปกับด้วยการเห็น ทั้งเป็นไป กับด้วยการกระทบ] ๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่มีการเห็น แต่เป็นไปกับด้วย การกระทบ] ๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่เห็น ที่ไม่กระทบ]
สังขาร ๓ อย่าง
๑. ปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบุญ] ๒. อปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบาป] ๓. อเนญชาภิสังขาร [อภิสังขารคืออเนญชา]
บุคคล ๓ อย่าง
๑. เสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษา] ๒. อเสกขบุคคล [บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา] ๓. เนวเสกขนาเสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้อง ศึกษาก็ไม่ใช่]
เถระ ๓ อย่าง
๑. ชาติเถระ [พระเถระโดยชาติ] ๒. ธรรมเถระ [พระเถระโดยธรรม] ๓. สมมติเถระ [พระเถระโดยสมมติ]
ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
๑. ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน] ๒. สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล] ๓. ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]
เหตุสำหรับโจทน์ ๓ อย่าง
๑. ทิฏฺเฐน [ด้วยได้เห็น] ๒. สุเตน [ด้วยได้ยินได้ฟัง] ๓. ปริสงฺกาย [ด้วยความรังเกียจ]
กามอุปบัติ ๓ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่มีกามปรากฏมีอยู่ สัตว์เหล่านั้น เมื่อกามปรากฏแล้ว ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลายเช่นมนุษย์ เทพดา บางจำพวก และวินิบาตบางจำพวก ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่หนึ่ง ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น นิรมิตแล้วๆ ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นเทพดาเหล่านิมมานรตี ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่สอง ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์ เหล่านั้น ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพดาเหล่า ปรนิมมิตวสวตี ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่สาม
สุขอุปบัติ ๓ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อม อยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพเหล่าพรหมกายิกา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อ ที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุข มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น บางครั้งบางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่น พวก เทพเหล่าอาภัสสรา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุข มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวก เทพเหล่าสุภกิณหา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติ ข้อที่สาม ฯ
ปัญญา ๓ อย่าง
๑. เสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ] ๒. อเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ] ๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ ของพระอเสขะก็ไม่ใช่] ฯ
ปัญญาอีก ๓ อย่าง
๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด] ๒. สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง] ๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม] ฯ
อาวุธ ๓ อย่าง
๑. สุตาวุธ [อาวุธคือการฟัง] ๒. ปวิเวกาวุธ [อาวุธคือความสงัด] ๓. ปัญญาวุธ [อาวุธคือปัญญา] ฯ
อินทรีย์ ๓ อย่าง
๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเรา จักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้] ๒. อัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือความตรัสรู้] ๓. อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] ฯ
จักษุ ๓ อย่าง
๑. มังสจักขุ [ตาเนื้อ ตาปรกติ] ๒. ทิพพจักขุ [จักษุทิพย์] ๓. ปัญญาจักขุ [จักษุคือปัญญา] ฯ
สิกขา ๓ อย่าง
๑. อธิศีลสิกขา [สิกขาคือศีลยิ่ง] ๒. อธิจิตตสิกขา [สิกขาคือจิตยิ่ง] ๓. อธิปัญญาสิกขา [สิกขาคือปัญญายิ่ง] ฯ
ภาวนา ๓ อย่าง
๑. กายภาวนา [การอบรมกาย] ๒. จิตตภาวนา [การอบรมจิต] ๓. ปัญญาภาวนา [การอบรมปัญญา] ฯ
อนุตตริยะ ๓ อย่าง
๑. ทัสสนานุตตริยะ [ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม] ๒. ปฏิปทานุตตริยะ [ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม] ๓. วิมุตตานุตตริยะ [ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม] ฯ
สมาธิ ๓ อย่าง
๑. สวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร] ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร] ๓. อวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร] ฯ
สมาธิอีก ๓ อย่าง
๑. สุญญตสมาธิ [สมาธิที่ว่างเปล่า] ๒. อนิมิตตสมาธิ [สมาธิที่หานิมิตมิได้] ๓. อัปปณิหิตสมาธิ [สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้] ฯ
โสเจยยะ ๓ อย่าง
๑. กายโสเจยยะ [ความสะอาดทางกาย] ๒. วจีโสเจยยะ [ความสะอาดทางวาจา] ๓. มโนโสเจยยะ [ความสะอาดทางใจ]
โมเนยยะ ๓ อย่าง
๑. กายโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย] ๒. วจีโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา] ๓. มโนโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ] ฯ
โกสัลละ ๓ อย่าง
๑. อายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ] ๒. อปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม] ๓. อุปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญและความ เสื่อม]
มทะ ความเมา ๓ อย่าง
๑. อาโรคยมทะ [ความเมาในความไม่มีโรค] ๒. โยพพนมทะ [ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว] ๓. ชาติมทะ [ความเมาในชาติ] ฯ
อธิปเตยยะ ๓ อย่าง
๑. อัตตาธิปเตยยะ [ความมีตนเป็นใหญ่] ๒. โลกาธิปเตยยะ [ความมีโลกเป็นใหญ่] ๓. ธัมมาธิปเตยยะ [ความมีธรรมเป็นใหญ่] ฯ
กถาวัตถุ ๓ อย่าง
๑. ปรารภกาลส่วนอดีตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้ ๒. ปรารภกาลส่วนอนาคตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังไม่มาถึงจักมีอย่างนี้ ๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำว่า กาล ส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ฯ
วิชชา ๓ อย่าง
๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติใน ก่อนได้] ๒. จุตูปปาตญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักกำหนดจุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย] ๓. อาสวักขยญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป] ฯ
วิหารธรรม ๓ อย่าง
๑. ทิพยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพดา] ๒. พรหมวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม] ๓. อริยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ] ฯ
ปาฏิหาริยะ ๓ อย่าง
๑. อิทธิปาฏิหาริยะ [ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์] ๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ [ดักใจเป็นอัศจรรย์] ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ [คำสอนเป็นอัศจรรย์] ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดย ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบหมวด ๓
-----------------------------------------------------
หมวด ๔
[๒๒๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
สติปัฏฐาน ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสใน โลกเสียได้ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตใน จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสียได้ ฯ [๒๓๐] สัมมัปปธาน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่ เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ เกิดขึ้นแล้ว ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่ เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความตั้งมั่นไม่เลือนลาง จำเริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ฯ [๒๓๑] อิทธิบาท ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯ [๒๓๒] ฌาน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มี- *ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระ- *อริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่ มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ [๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่ เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่ มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง ญาณทัสสนะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอัน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ สัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่ง เวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ [๒๓๔] อัปปมัญญา ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตาม นัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก สถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก สถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตาม นัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ [๒๓๕] อรูป ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูป สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ [๒๓๖] อปัสเสนะ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของ อย่างหนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วอดกลั้น ของอย่างหนึ่ง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเว้นของ อย่างหนึ่ง ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วบรรเทา ของอย่างหนึ่ง ฯ [๒๓๗] อริยวงศ์ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วย จีวรตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร และไม่ได้ จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มี ปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้ อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจ คร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วย บิณฑบาตตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่ง บิณฑบาต และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยว เกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นใน สันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วย เสนาสนะตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะ ตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยว เกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตาม ได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษ ด้วยเสนาสนะนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของ เก่าอันยอดเยี่ยม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความ ยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีใน ภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นใน ปหานะและภาวนานั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ของเก่าอันยอดเยี่ยม ฯ [๒๓๘] ปธาน ๔ อย่าง ๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง] ๒. ปหานปธาน [เพียรละ] ๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ] ๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม ในโสตินทรีย์ ฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม ในฆานินทรีย์ ฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน ชิวหินทรีย์ ฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม- *อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึง ความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความ สำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังวรปธาน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิด ขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหาน- *ปธาน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัด อาศัย ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ- *สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อัน น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ- *สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ผู้มีอายุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ [๒๓๙] ญาณ ๔ อย่าง ๑. ธัมมญาณ [ความรู้ในธรรม] ๒. อันวยญาณ [ความรู้ในการคล้อยตาม] ๓. ปริจเฉทญาณ [ความรู้ในการกำหนด] ๔. สัมมติญาณ [ความรู้ในสมมติ] ญาณ ๔ อย่าง ๑. ทุกขญาณ [ความรู้ในทุกข์] ๒. ทุกขสมุทยญาณ [ความรู้ในทุกขสมุทัย] ๓. ทุกขนิโรธญาณ [ความรู้ในทุกขนิโรธ] ๔. ทุกขนิโรธคามินี- [ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]       ปฏิปทาญาณ [๒๔๐] องค์ของการบรรลุโสดา ๔ อย่าง ๑. สัปปุริสสังเสวะ [การคบสัตบุรุษ] ๒. สัทธัมมัสสวนะ [การฟังพระสัทธรรม] ๓. โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย] ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ [การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม] [๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก- *ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของ บูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็น บุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย ศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อัน วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ [๒๔๒] สามัญญผล ๔ อย่าง ๑. โสดาปัตติผล ๒. สกทาคามิผล ๓. อนาคามิผล ๔. อรหัตตผล [๒๔๓] ธาตุ ๔ อย่าง ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน] ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ] ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ] ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม] [๒๔๔] อาหาร ๔ อย่าง ๑. กวฬิงการาหาร [อาหารคือคำข้าวหยาบหรือละเอียด] ๒. ผัสสาหาร [อาหารคือผัสสะ] ๓. มโนสัญเจตนาหาร [อาหารคือมโนสัญเจตนา] ๔. วิญญาณาหาร [อาหารคือวิญญาณ] [๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึง ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อม ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อม ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อม ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความ ยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ฯ [๒๔๖] การถึงอคติ ๔ อย่าง ๑. ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน ๒. ถึงความลำเอียงเพราะความขัดเคืองกัน ๓. ถึงความลำเอียงเพราะความหลง ๔. ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว [๒๔๗] ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งจีวร ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งบิณฑบาต ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งเสนาสนะ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุ แห่งความมียิ่งๆ ขึ้นไป ฯ [๒๔๘] ปฏิปทา ๔ อย่าง ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า] ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว] ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า] ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว] [๒๔๙] ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง ๑. อักขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติไม่อดทน] ๒. ขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติอดทน] ๓. ทมา ปฏิปทา [ปฏิบัติฝึก] ๔. สมา ปฏิปทา [ปฏิบัติระงับ] [๒๕๐] ธรรมบท ๔ อย่าง ๑. บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง ๒. บทธรรมคือความไม่พยาบาท ๓. บทธรรมคือความระลึกชอบ ๔. บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ [๒๕๑] ธรรมสมาทาน ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์ เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุข เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์ เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน และมีสุข เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ ฯ [๒๕๒] ธรรมขันธ์ ๔ อย่าง ๑. ศีลขันธ์ [หมวดศีล] ๒. สมาธิขันธ์ [หมวดสมาธิ] ๓. ปัญญาขันธ์ [หมวดปัญญา] ๔. วิมุตติขันธ์ [หมวดวิมุติ] [๒๕๓] พละ ๔ อย่าง ๑. วิริยะพละ [กำลังคือความเพียร] ๒. สติพละ [กำลังคือสติ] ๓. สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ] ๔. ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา] [๒๕๔] อธิฏฐาน ๔ อย่าง ๑. ปัญญาธิฏฐาน [อธิษฐานคือปัญญา] ๒. สัจจาธิฏฐาน [อธิษฐานคือสัจจะ] ๓. จาคะธิฏฐาน [อธิษฐานคือจาคะ] ๔. อุปสมาธิฏฐาน [อธิษฐานคืออุปสมะ] [๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง ๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว ๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้ ๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้ ๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย ฯ [๒๕๖] กรรม ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้ง ฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ฯ [๒๕๗] สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง ๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ ๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ ๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย ๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา [๒๕๘] โอฆะ ๔ อย่าง ๑. กาโมฆะ [โอฆะคือกาม] ๒. ภโวฆะ [โอฆะคือภพ] ๓. ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ] ๔. อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา] [๒๕๙] โยคะ ๔ อย่าง ๑. กามโยคะ [โยคะคือกาม] ๒. ภวโยคะ [โยคะคือภพ] ๓. ทิฏฐิโยคะ [โยคะคือทิฐิ] ๔. อวิชชาโยคะ [โยคะคืออวิชชา] [๒๖๐] วิสังโยคะ ๔ อย่าง ๑. กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม] ๒. ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ] ๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ] ๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา] [๒๖๑] คันถะ ๔ อย่าง ๑. อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา] ๒. พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท] ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส] ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้ เป็นจริง] ฯ [๒๖๒] อุปาทาน ๔ อย่าง ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม] ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ] ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต] ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน] [๒๖๓] โยนิ ๔ อย่าง ๑. อัณฑชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่] ๒. ชลาพุชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์] ๓. สังเสทชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล] ๔. โอปปาติกโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น] ฯ [๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าว ลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว อยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอด จากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้ สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอด จากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สี่ ฯ [๒๖๕] การได้อัตภาพ ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตน อย่างเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่น เท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตนมีอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ [๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง ๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ ๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกมีอยู่ ฯ ๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ ๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ [๒๖๗] สังคหวัตถุ ๔ อย่าง ๑. ทาน [การให้ปัน] ๒. ปิยวัชช [เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน] ๓. อัตถจริยา [ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์] ๔. สมานัตตตา [ความเป็นผู้มีตนเสมอ] [๒๖๘] อนริยโวหาร ๔ อย่าง ๑. มุสาวาท [พูดเท็จ] ๒. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด] ๓. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ] ๔. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ] [๒๖๙] อริยโวหาร ๔ อย่าง ๑. มุสาวาทา เวรมณี [เว้นจากพูดเท็จ] ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดส่อเสียด] ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดคำหยาบ] ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ] [๒๗๐] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง ฯ [๒๗๑] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าไม่ได้รู้แจ้ง ฯ [๒๗๒] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ ๔. เมื่อรู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง ฯ [๒๗๓] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ ๔. เมื่อได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง [๒๗๔] บุคคล ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือด ร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือด ร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่น เดือดร้อนด้วย ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้ เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิว ดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือนพรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ [๒๗๕] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ฯ [๒๗๖] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป ๒. บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป ๓. บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป ๔. บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป ฯ [๒๗๗] บุคคลอีก ๔ อย่าง ๑. สมณมจละ [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว] ๒. สมณปทุมะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง] ๓. สมณปุณฑรีกะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว] ๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะ ทั้งหลาย ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์ นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบหมวด ๔
-----------------------------------------------------
หมวด ๕
[๒๗๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภท ๕ เป็นไฉน
ขันธ์ ๕ อย่าง
๑. รูปขันธ์ [กองรูป] ๒. เวทนาขันธ์ [กองเวทนา] ๓. สัญญาขันธ์ [กองสัญญา] ๔. สังขารขันธ์ [กองสังขาร] ๕. วิญญาณขันธ์ [กองวิญญาณ] ฯ [๒๗๙] อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง ๑. รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ) ฯ [๒๘๐] กามคุณ ๕ อย่าง ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ [๒๘๑] คติ ๕ อย่าง ๑. นิรยะ [นรก] ๒. ติรัจฉานโยนิ [กำเนิดดิรัจฉาน] ๓. ปิตติวิสัย [ภูมิแห่งเปรต] ๔. มนุสสะ [มนุษย์] ๕. เทวะ [เทวดา] ฯ [๒๘๒] มัจฉริยะ ๕ อย่าง ๑. อาวาสมัจฉริยะ [ตระหนี่ที่อยู่] ๒. กุลมัจฉริยะ [ตระหนี่สกุล] ๓. ลาภมัจฉริยะ [ตระหนี่ลาภ] ๔. วัณณมัจฉริยะ [ตระหนี่วรรณะ] ๕. ธัมมมัจฉริยะ [ตระหนี่ธรรม] ฯ [๒๘๓] นีวรณ์ ๕ อย่าง ๑. กามฉันทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม] ๒. พยาปาทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท] ๓. ถีนมิทธนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และ เคลิบเคลิ้ม] ๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและ รำคาญ] ๕. วิจิกิจฉานีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย] ฯ [๒๘๔] โอรัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน] ๒. วิจิกิจฉา [ความสงสัย] ๓. สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามี ได้ด้วยศีลหรือพรต] ๔. กามฉันทะ ๑- [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม] ๕. พยาบาท ๒- [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น] [๒๘๕] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ อย่าง ๑. รูปราคะ [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม] ๒. อรูปราคะ [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม] ๓. มานะ [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่] ๔. อุทธัจจะ [ความคิดพล่าน] ๕. อวิชชา [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง] @๑. ในที่อื่นเป็นกามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งกาม @๒. ในที่อื่นเป็นปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต [๒๘๖] สิกขาบท ๕ อย่าง ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์] ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ ลักทรัพย์] ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม] ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการ พูดเท็จ] ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท] ฯ [๒๘๗] อภัพพฐาน ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จาก ชีวิต ๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็น ขโมย ๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม ๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่ ๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกามเหมือนเมื่อ ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ ฯ [๒๘๘] พยสนะ ๕ อย่าง ๑. ญาติพยสนะ [ความฉิบหายแห่งญาติ] ๒. โภคพยสนะ [ความฉิบหายแห่งโภคะ] ๓. โรคพยสนะ [ความฉิบหายเพราะโรค] ๔. สีลพยสนะ [ความฉิบหายแห่งศีล] ๕. ทิฏฐิพยสนะ [ความฉิบหายแห่งทิฐิ] ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหาย ก็ดี เพราะเหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ฯ [๒๘๙] สัมปทา ๕ อย่าง ๑. ญาติสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยญาติ] ๒. โภคสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ] ๓. อาโรคยสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค] ๔. สีลสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยศีล] ๕. ทิฏฐิสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ] ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภค สัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิ- *สัมปทา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก ฯ [๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความ เสื่อมแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก กิตติศัพท์อันเสียหายของคน ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหา บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคน หลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีลข้อที่ห้า ฯ [๒๙๑] อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้ย่อม ประสบกองแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีล สมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก กิตติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือ สมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคน มีศีลข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาละ นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีล สมบัติของคนมีศีลข้อที่ห้า ฯ [๒๙๒] ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง ธรรม ๕ ประการไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบ ด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราจักกล่าวด้วย เมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็น โจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจท ผู้อื่น ฯ [๒๙๓] องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระ- *ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็น สารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ ๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วย เตโชธาตุอันมีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ ความเพียร ฯ ๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตน ตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ฯ ๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระ ในบรรดาธรรมที่เป็นกุศล ฯ ๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็น เกิดและดับ เป็นปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส จะให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ [๒๙๔] สุทธาวาส ๕ ๑. อวิหา ๒. อตัปปา ๓. สุทัสสา ๔. สุทัสสี ๕. อกนิฏฐา ฯ [๒๙๕] พระอนาคามี ๕ ๑. อันตราปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่าง อายุยังไม่ทันถึงกึ่ง] ๒. อุปหัจจปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุ พ้นกึ่งแล้ว จวนถึงที่สุด] ๓. อสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้อง ใช้ความเพียรนัก] ๔. สสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ ความเพียร] ๕. อุทธโสโต อกนิฏฐคามี [พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ ชั้นอกนิฏฐภพ] ฯ [๒๙๖] ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความ กระด้างแห่งจิตข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิต อันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือน ตะปู ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำ เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่ห้า ฯ [๒๙๗] ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความ ทะยานอยากในกามทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในกามทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิต ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในกาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความ พอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไป ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน อยากในรูป ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความ พอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไป ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความ ต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขใน การหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้บริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็น ไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา หมู่เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น เทพเจ้า หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่ห้า ฯ [๒๙๘] อินทรีย์ ๕ อย่าง ๑. จักขุนทรีย์ [อินทรีย์คือตา] ๒. โสตินทรีย์ [อินทรีย์คือหู] ๓. ฆานินทรีย์ [อินทรีย์คือจมูก] ๔. ชิวหินทรีย์ [อินทรีย์คือลิ้น] ๕. กายินทรีย์ [อินทรีย์คือกาย] [๒๙๙] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ๑. สุขินทรีย์ [อินทรีย์คือสุข] ๒. ทุกขินทรีย์ [อินทรีย์คือทุกข์] ๓. โสมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโสมนัส] ๔. โทมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโทมนัส] ๕. อุเปกขินทรีย์ [อินทรีย์คืออุเบกขา] [๓๐๐] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา] ๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ] ๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ] ๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ] ๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา] [๓๐๑] นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกาม ทั้งหลายอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะ กามทั้งหลาย แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจาก อาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกามเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อม ไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ พยาบาทอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะ ความพยาบาท แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท และเธอ พ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็น ปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง ความพยาบาท ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ เบียดเบียนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ใน เพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิต ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่เบียดเบียน จิตของ เธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความ เบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่ง มีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าว ได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความเบียดเบียน ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลาย อยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะรูปทั้งหลาย แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะอรูป จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากรูปทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวน กระวาย ซึ่งมีรูปเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของ ตนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกาย ของตน แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะความดับแห่งกายของตน จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกายของตน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตน เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง กายของตน ฯ [๓๐๒] วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์ หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอ ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกาย สงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดน วิมุตติข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อม เสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอ กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้ง อรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอ ตรึกตรองตามซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อม รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตาม ด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อม เกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอ เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทง ตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการ ที่ได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบ ด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า ฯ [๓๐๓] สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง ๑. อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง] ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณา เห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง] ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณา เห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์] ๔. ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่า ควรละเสีย] ๕. วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความ คลายเสียซึ่งความกำหนัด] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดย ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๕
-----------------------------------------------------
หมวด ๖
[๓๐๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ แล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
อายตนะภายใน ๖ อย่าง
๑. อายตนะ คือตา ๒. อายตนะ คือหู ๓. อายตนะ คือจมูก ๔. อายตนะ คือลิ้น ๕. อายตนะ คือกาย ๖. อายตนะ คือใจ [๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖ อย่าง ๑. อายตนะ คือ รูป ๒. อายตนะ คือ เสียง ๓. อายตนะ คือ กลิ่น ๔. อายตนะ คือ รส ๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ ๖. อายตนะ คือ ธรรม [๓๐๖] หมวดวิญญาณ ๖ ๑. จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา] ๒. โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู] ๓. ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก] ๔. ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น] ๕. กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย] ๖. มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ] [๓๐๗] หมวดผัสสะ ๖ ๑. จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา] ๒. โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู] ๓. ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก] ๔. ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น] ๕. กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย] ๖. มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ] [๓๐๘] หมวดเวทนา ๖ ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา] ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู] ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก] ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น] ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย] ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ] [๓๐๙] หมวดสัญญา ๖ ๑. รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] ๒. สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] ๓. คันธสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] ๔. รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] ๕. โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] ๖. ธัมมสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์] [๓๑๐] หมวดสัญเจตนา ๖ ๑. รูปสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] ๒. สัททสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] ๓. คันธสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] ๔. รสสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] ๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] ๖. ธัมมสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์] [๓๑๑] หมวดตัณหา ๖ ๑. รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์] ๒. สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์] ๓. คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์] ๔. รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์] ๕. โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์] ๖. ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์] [๓๑๒] อคารวะ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการศึกษาอยู่ ๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ ๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ [๓๑๓] คารวะ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เคารพยำเกรง ในพระศาสดาอยู่ ๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่ ๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการศึกษาอยู่ ๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่ ๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ [๓๑๔] โสมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็น ที่ตั้งแห่งโสมนัส ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส ฯ [๓๑๕] โทมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอัน เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส ฯ [๓๑๖] อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอัน เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา ฯ [๓๑๗] สาราณียธรรม ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมข้อ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้ เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไป ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็น เครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อ ความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไป ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็น เครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อ ความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบ ด้วยธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารในบาตร ไม่หวงกันด้วย ลาภเห็นปานดังนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรมแม้ข้อนี้ก็ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็น ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหา และทิฐิ เป็นไปเพื่อสมาธิ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลเห็น ปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้ เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำ ทิฐินั้น ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิในทิฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อน สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความ ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไป เพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ [๓๑๘] มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มักผูก โกรธไว้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้นั้น ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่ เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้ บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ลบหลู่ตีเสมอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลบหลู่ตีเสมอย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ใน สิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้ บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักริษยา มีความ ตระหนี่ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักริษยามีความตระหนี่ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่ เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อ ความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อ ความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาท เห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลว ทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความ วิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาท อันเลวทรามเช่นนั้นเสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม เช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้โอ้อวดมีมารยา ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดา อยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรง แม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความ วิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความ พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นใน สงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้น เสีย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน ภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีก ต่อไป ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา ลามก มีความเห็นผิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็น ผิด ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็น ผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงใน พระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์ อยู่ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่าน พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายาม ที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสียได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้า พวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายาม ได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติ ได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยึดมั่นในความ เห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยึดมั่นในความเห็น ของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ใน พระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่ง เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศ แก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้ง ภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้ง ภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้ อีกต่อไป ฯ [๓๑๙] ธาตุ ๖ อย่าง ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน] ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ] ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ] ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม] ๕. อากาศธาตุ [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย] ๖. วิญญาณธาตุ [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้] ฯ [๓๒๐] นิสสารณียธาตุ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้ เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าว ดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี- *พระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้ เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ยานแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบ ด้วยเมตตา แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังจักครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึง อย่างนั้น วิเหสาก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่ประกอบ ด้วยกรุณา แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึง อย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่า ได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา แต่ถึง อย่างนั้น อรติก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบ ด้วยมุทิตานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ ฯ ๔. ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ประกอบด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้ กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าว ตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วย อุเบกขานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิตแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เรา ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่หานิมิต มิได้ แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ไม่มี นิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิตทุกอย่าง ฯ ๖. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการ ถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี พระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อการถือว่าเรามีอยู่ดังนี้ หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศร คือความเคลือบแคลงสงสัย ก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือการ เพิกถอน การถือว่าเรามีอยู่นี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลง สงสัย ฯ [๓๒๑] อนุตตริยะ ๖ อย่าง ๑. ทัสสนานุตตริยะ [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม] ๒. สวนานุตตริยะ [การฟังอย่างยอดเยี่ยม] ๓. ลาภานุตตริยะ [การได้อย่างยอดเยี่ยม] ๔. สิกขานุตตริยะ [การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม] ๕. ปาริจริยานุตตริยะ [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม] ๖. อนุสสตานุตตริยะ [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม] [๓๒๒] อนุสสติฐาน ๖ อย่าง ๑. พุทธานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า] ๒. ธัมมานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระธรรม] ๓. สังฆานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์] ๔. สีลานุสสติ [ระลึกถึงศีล] ๕. จาคานุสสติ [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค] ๖. เทวตานุสสติ [ระลึกถึงเทวดา] [๓๒๓] สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๒. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็น ผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฯ [๓๒๔] อภิชาติ ๖ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพ ธรรมฝ่ายดำ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพ ธรรมฝ่ายขาว ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพ พระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพ ธรรมฝ่ายขาว ๕. ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพ ธรรมฝ่ายดำ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพ พระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ฯ [๓๒๕] นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง] ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง] ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่ เป็นทุกข์] ๔. ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ] ๕. วิราคสัญญา [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด] ๖. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่ง แย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบหมวด ๖
-----------------------------------------------------
หมวด ๗
[๓๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๗ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ แล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกัน ในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
อริยทรัพย์ ๗ อย่าง
๑. สัทธาธนัง [ทรัพย์คือศรัทธา] ๒. สีลธนัง [ทรัพย์คือศีล] ๓. หิริธนัง [ทรัพย์คือหิริ] ๔. โอตตัปปธนัง [ทรัพย์คือโอตตัปปะ] ๕. สุตธนัง [ทรัพย์คือสุตะ] ๖. จาคธนัง [ทรัพย์คือจาคะ] ๗. ปัญญาธนัง [ทรัพย์คือปัญญา] [๓๒๗] โพชฌงค์ ๗ อย่าง ๑. สติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความ ระลึกได้] ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่อง ธรรม] ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร] ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ] ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ] ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความ ตั้งใจมั่น] ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความ วางเฉย] [๓๒๘] บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง ๑. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ] ๒. สัมมาสังกัปปะ [ความดำริชอบ] ๓. สัมมาวาจา [เจรจาชอบ] ๔. สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ] ๕. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ] ๖. สัมมาวายามะ [พยายามชอบ] ๗. สัมมาสติ [ระลึกชอบ] [๓๒๙] อสัทธรรม ๗ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา ๒. เป็นคนไม่มีหิริ ๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นคนมีสุตะน้อย ๕. เป็นคนเกียจคร้าน ๖. เป็นคนมีสติหลงลืม ๗. เป็นคนมีปัญญาทราม [๓๓๐] สัทธรรม ๗ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นคนมีศรัทธา ๒. เป็นคนมีหิริ ๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ ๔. เป็นคนมีพหูสูต ๕. เป็นคนปรารภความเพียร ๖. เป็นคนมีสติมั่นคง ๗. เป็นคนมีปัญญา [๓๓๑] สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้รู้จักเหตุ ๒. เป็นผู้รู้จักผล ๓. เป็นผู้รู้จักตน ๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ ๕. เป็นผู้รู้จักกาล ๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท ๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล [๓๓๒] นิททสวัตถุ ๗ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่ หมดความรักในการสมาทานสิกขาต่อไปด้วย ๒. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่ หมดความรักในการไตร่ตรองธรรมต่อไปด้วย ๓. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็น ผู้ไม่หมดความรักในการปราบปรามความอยากต่อไปด้วย ๔. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความ รักในการเร้นอยู่ต่อไปด้วย ๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่ หมดความรักในการปรารภความเพียรต่อไปด้วย ๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้ง เป็นผู้ไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย ๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่ หมดความรักในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย [๓๓๓] สัญญา ๗ อย่าง ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง] ๒. อนัตตสัญญา [กำหนดหมายเป็นอนัตตา] ๓. อสุภสัญญา [กำหนดหมายความไม่งาม] ๔. อาทีนวสัญญา [กำหนดหมายโทษ] ๕. ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ] ๖. วิราคสัญญา [กำหนดหมายวิราคะ] ๗. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายนิโรธ] [๓๓๔] พละ ๗ อย่าง ๑. สัทธาพละ [กำลังคือศรัทธา] ๒. วิริยพละ [กำลังคือความเพียร] ๓. หิริพละ [กำลังคือหิริ] ๔. โอตตัปปพละ [กำลังคือโอตตัปปะ] ๕. สติพละ [กำลังคือสติ] ๖. สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ] ๗. ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา] [๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อ ที่หนึ่ง ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณ- *ฐิติข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วย มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณ- *ฐิติข้อที่เจ็ด ฯ [๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง ๑. อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง] ๒. ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา] ๓. กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย] ๔. ทิฏฐิปัตต [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น] ๕. สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา] ๖. ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม] ๗. สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา] [๓๓๗] อนุสัย ๗ อย่าง ๑. กามราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ กำหนัดในกาม] ๒. ปฏิฆานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ กระทบกระทั่งแห่งจิต] ๓. ทิฏฐานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ เห็น] ๔. วิจิกิจฉานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ สงสัย] ๕. มานานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ ถือตัว] ๖. ภวราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ กำหนัดในภพ] ๗. อวิชชานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ ไม่รู้] [๓๓๘] สัญโญชน์ ๗ อย่าง ๑. กามสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่] ๒. ปฏิฆสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่ง แห่งจิต] ๓. ทิฏฐิสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น] ๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย] ๕. มานสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว] ๖. ภวราคสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ] ๗. อวิชชาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้] [๓๓๙] อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๑. พึงให้สัมมุขาวินัย ๒. พึงให้สติวินัย ๓. พึงให้อมุฬหวินัย ๔. พึงปรับตามปฏิญญา ๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย ๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า] ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมประเภทละ ๗ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระ- *ภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดย ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๗
-----------------------------------------------------
หมวด ๘
[๓๔๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การ ที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เป็นไฉน ฯ
มิจฉัตตะ ๘ อย่าง
๑. มิจฉาทิฏฐิ [เห็นผิด] ๒. มิจฉาสังกัปปะ [ดำริผิด] ๓. มิจฉาวาจา [วาจาผิด] ๔. มิจฉากัมมันตะ [การงานผิด] ๕. มิจฉาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตผิด] ๖. มิจฉาวายามะ [พยายามผิด] ๗. มิจฉาสติ [ระลึกผิด] ๘. มิจฉาสมาธิ [ตั้งจิตผิด] [๓๔๑] สัมมัตตะ ๘ อย่าง ๑. สัมมาทิฏฐิ [เห็นชอบ] ๒. สัมมาสังกัปปะ [ดำริชอบ] ๓. สัมมาวาจา [วาจาชอบ] ๔. สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ] ๕. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ] ๖. สัมมาวายามะ [พยายามชอบ] ๗. สัมมาสติ [ระลึกชอบ] ๘. สัมมาสมาธิ [ตั้งจิตชอบ] [๓๔๒] ทักขิเณยยบุคคล ๘ ๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน ๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี ๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี ๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์ ๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง [๓๔๓] กุสีตวัตถุ ๘ ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะต้องทำการงาน เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ด เหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอ มีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ด เหนื่อยแล้ว ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความ คิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่ง ความเกียจคร้านข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ด เหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้อง การ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความ บริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรา นั้นเหน็ดเหนื่อยไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ แล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความ บริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว ร่างกายของ เรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะ นอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควร เพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความ เป็นไข้ได้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอน เสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่แปด ฯ [๓๔๔] อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานเราจักต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่ จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเสียก่อนที่ เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่ง ความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอ มีความคิดอย่างนี้ เราทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่ จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ ความเพียรข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจ ถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะ ใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้- *แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียร ข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือ นิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเบาควร แก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่เรายังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความ เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภ ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของ เราจะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้ แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียร ข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความ เป็นไข้แล้วไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ แล้วไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกำเริบนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะ ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ แปด ฯ [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ ๑- ๒. ให้ทานเพราะกลัว ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่ จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะ ระบือไป ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ [๓๔๖] ทานุปบัติ ๘ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขา เห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อม พรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง @๑. มีผู้รับมาถึงเข้าก็ให้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของ บริสุทธิ์ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ ที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่าจาตุมหาราชิกา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับ อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับ ผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็น อุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวาย ไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดาวดึงส์มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรม จิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลวมิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็น ไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มี อายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่ง ที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตน ถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่ายามามีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่ายามา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อม เป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวาย ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็น อุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดุสิตามีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขา จึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของพวกเทพเหล่าดุสิตา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้ง หลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ สิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่านิมมานรดี มีอายุยืน มีวรรณะ มาก ด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่านิมมานรดี เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อ คุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะ เป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ สิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี เขาตั้งจิตนั้น ไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้ รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าว สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อม สำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ สิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม เขาตั้งจิตนั้น ไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้ รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับ ผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับคนที่ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับคนที่ยังมี ราคะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ ฯ [๓๔๗] โลกธรรม ๘ อย่าง ๑. มีลาภ ๒. ไม่มีลาภ ๓. มียศ ๔. ไม่มียศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์ ฯ [๓๔๘] บริษัท ๘ อย่าง ๑. บริษัทกษัตริย์ ๒. บริษัทพราหมณ์ ๓. บริษัทคฤหบดี ๔. บริษัทสมณะ ๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี ๘. บริษัทพรหม ฯ [๓๔๙] อภิภายตนะ ๘ อย่าง ๑. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เรา เห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง ฯ ๓. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม ฯ ๔. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่ ฯ ๕. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มี วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียว ล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง เขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ ๖. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มี วรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะ เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วน ทั้งสองเกลี้ยง เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ สำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ ๗. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะ แดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มี รัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง แดง มี วรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภาย- *ตนะข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มี วรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาว ล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยง ขาว มี วรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภาย- *ตนะข้อที่แปด ฯ [๓๕๐] วิโมกข์ ๘ อย่าง ๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็น วิโมกข์ข้อที่สอง ฯ ๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ ๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ ๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อม เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็น วิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ ๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้า ถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ ๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้า ถึงเนวสัญญายตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข้อที่เจ็ด ฯ ๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคล ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดย ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จบ หมวด ๘
-----------------------------------------------------
หมวด ๙
[๓๕๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบ แล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การ ที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เป็นไฉน ฯ
อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง
๑. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๒. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๓. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๔. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเราแล้ว ๕. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา ๖. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รักเป็นที่ขอบใจของเรา ๗. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว ๘. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๙. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ฯ [๓๕๒] อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง ๑. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๒. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๓. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๔. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้ มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๕. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๖. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๗. บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้ มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๘. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะ ไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๙. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มี การประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน [๓๕๓] สัตตาวาส ๙ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวกนี้สัตตาวาสข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้สัตตาวาส ข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่าง กัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้สัตตาวาสข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญา อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้สัตตาวาสข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวย อารมณ์ เช่นพวกเทพเหล่าอสัญญีสัตว์ นี้สัตตาวาสข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้า ถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ นี้สัตตาวาส ข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่ สุดมิได้ นี้สัตตาวาสข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญ- *จายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มี อะไรนี้สัตตาวาสข้อที่แปด ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบ นี่ประณีต นี้สัตตาวาสข้อที่เก้า ฯ [๓๕๔] อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ในโลกนี้ และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไป เพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้เข้า ถึงนรกเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ แต่บุคคลนี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงวิสัยแห่งเปรตเสียนี้มิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงอสุรกายเสียมิใช่ขณะมินี้มิใช่ขณะชิใช่สมัยเพื่อการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพที่มีอายุยืนพวกใดพวกหนึ่งเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ แต่บุคคลนี้เกิดเสียในปัจจันติมชนบท ในจำพวกชนชาติมิลักขะผู้โง่เขลา ไร้ คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่พระพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้ไม่มีผลการบูชาไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีหรือทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ไม่มี ในโลก ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่ง โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วยังผู้อื่นให้รู้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เป็นคนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถ ที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่แปด ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้ามิได้เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไป เพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ ก็มิได้มีผู้ทรง แสดงไว้ และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญาไม่เซอะซะ ไม่เป็น คนใบ้ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เก้า ฯ [๓๕๕] อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มี ความผ่องใสแห่งจิตใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบระงับ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่ มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูป สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการ ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญ- *จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯ [๓๕๖] อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง ๑. กามสัญญาของท่านผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป ๒. วิตกวิจารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป ๓. ปีติของท่านผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป ๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป ๕. รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป ๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อม ดับไป ๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป ๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมดับไป ๙. สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๙
-----------------------------------------------------
หมวด ๑๐
[๓๕๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ ที่พระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสันมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เป็นไฉน ฯ
นาถกรณธรรม ๑๐ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สำรวมระวังในพระ- *ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยใน โทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับ แล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ผู้มีอายุ ทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเห็น ปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทง ตลอดด้วยดีด้วยความเห็น นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็ เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย ธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มี อายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น คนขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายใน กรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจา น่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคน ใคร่ในธรรมเจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็ เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ ผู้มี อายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วย สติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูด แล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบ ด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูด แล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๑๐. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบ ด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ [๓๕๘] กสิณายตนะ [แดนกสิณ] ๑๐ อย่าง ๑. ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ ๒. ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๓. ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๔. ผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๕. ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ ๖. ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ ๗. ผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๘. ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณหามิได้ ๙. ผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๑๐. ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ [๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง ๑. ปาณาติบาต [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป] ๒. อทินนาทาน [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้] ๓. กาเมสุมิจฉาจาร [การประพฤติผิดในกาม] ๔. มุสาวาท [พูดเท็จ] ๕. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด] ๖. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ] ๗. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ] ๘. อภิชฌา [ความโลภอยากได้ของเขา] ๙. พยาบาท [ความปองร้ายเขา] ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ [ความเห็นผิด] [๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิต ให้ตกล่วงไป] ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของมิได้ให้] ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิด ในกาม] ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ] ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด] ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ] ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ] ๘. อนภิชฌา [ความไม่โลภอยากได้ของเขา] ๙. อัพยาบาท [ความไม่ปองร้ายเขา] ๑๐. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ] [๓๖๑] อริยวาส ๑๐ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก ๓. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ๔. เป็นผู้มีที่พิงสี่ ๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ ๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ ๙. เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอัน ละขาดแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกามฉันทะอันละได้ ขาดแล้ว มีความพยาบาทอันละได้ขาดแล้ว มีถีนมิทธะอันละได้ขาดแล้ว มิ อุทธัจจกุกกุจจะอันละได้ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาอันละได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอันละได้ขาดแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย องค์หก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดมกลิ่นด้วยจมูก แล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ลิ้มรสด้วยลิ้น แล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติ สัมปชัญญะอยู่ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย องค์หก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยใจอันมี สติเป็นเครื่องอารักขา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขา อย่างหนึ่ง ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีที่พิงสี่ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของ อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้มีที่พิงสี่ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทาเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมากของสมณะและ พราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมเป็นของอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาบรรเทา เสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอัน สละแล้วโดยชอบ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวงหากาม อันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหาภพอันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหาพรหมจรรย์ อันสละคืนแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอัน สละแล้วโดยชอบ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ ขุ่นมัว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความดำริใน ทางกามได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความ ดำริในทางเบียดเบียนได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี ความดำริไม่ขุ่นมัว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารสงบ ระงับ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี กายสังขารสงบระงับ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษ ดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้วจากราคะ มีจิตพ้นแล้วจากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษ ดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเรา ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ๑- ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว @๑. เช่นตาลยอดด้วน ไม่งอกขึ้นต่อไป ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของ ไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้น เสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี ปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ [๓๖๒] อเสขธรรม ๑๐ อย่าง ๑. ความเห็นชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๒. ความดำริชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๓. เจรจาชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๔. การงานชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๕. การเลี้ยงชีวิตชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๖. ความเพียรชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๗. ความระลึกชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๘. ความตั้งใจมั่นชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๙. ความรู้ชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐. ความหลุดพ้นชอบที่เป็นของพระอเสขะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้ ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกัน การที่พรหมจรรย์ นี้ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๑๐
-----------------------------------------------------
[๓๖๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัสกะท่านพระ สารีบุตรว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร ดูกรสารีบุตร เธอได้ภาษิตสังคีติปริยายแก่ ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้ว ดังนี้ ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้ แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นต่างดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่าน พระสารีบุตรแล้ว ดังนี้แล ฯ
จบ สังคีติสูตร ที่ ๑๐
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๔๕๐๑-๗๐๑๕ หน้าที่ ๑๘๖-๒๘๘. https://84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=11&A=4501&Z=7015&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/_mcu/m_siri.php?B=11&siri=10              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [221-363] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=11&item=221&items=143              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=4096              The Pali Tipitaka in Roman :- [221-363] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=11&item=221&items=143              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=4096              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn33/en/sujato https://suttacentral.net/dn33/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :