อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว


อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อัง ขุ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
หัวใจพระวินัยปิฎก หัวใจพระสุตันตปิฏก หัวใจพระอภิธรรมปิฏก

พระวินัยปิฏก
1) มหาวิภังค์ (อา) อาทิกัมมิกะ เรื่องเกี่ยวกับอาบัติ ปราชิก สังฆาทิเสส และถุลลัจจัย
2) ภิกษุณีวิภังค์ (ปา) ปาจิตตีย์ เรื่องเกี่ยวกับอาบัติปาจิตตีย์ลงมา และภิกขุนีวิภังค์
3) มหาวรรค (มะ)
4) จุลวรรค (จุ)
5) ปริวาร (ปะ)

พระสุตันตปิฏก
1) ทีฆนิกาย (ที) ว่าด้วยพระสูตรอย่างยาว
2) มัชฌิมนิกาย (มะ) ว่าด้วยพระสูตรความยาวเรื่องปานกลาง
3) สังยุตตนิกาย (สัง) คือหมวดประมวลธรรมต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่
4) อังคุตตรนิกาย (ิอัง) คือหมวดที่กำหนดประเภทของหลักธรรมโดย กำหนดจำนวน เป็นเกณฑ์
5) ขุททกนิกาย (ขุ) เป็นหมวดธรรมเบ็ดเตล็ด

พระอภิธรรม
1) ธรรมสังคณี หรือ สังคณี (สัง)
2) วิภังค์ (วิ)
3) ธาตุกถา (ธา)
4) ปุคคลบัญญัติ (ปุ) ว่าด้วยการบัญญัติบุคคลในพุทธศาสนา
5) กถา (กะ)
6) ยมก (ยะ)
7) ปัฏฐาน (ปะ)


โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
โลกุตตรธรรมเก้า มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง


[310] โลกุตตรธรรม 9 (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก — supermundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม 37 = 46 : ขุ. ปฏิ. 31/620/535; Ps.II.166)
        มรรค 4 (the Four Paths)
        ผล 4 (the Four Fruitions)
        นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ 1 (the Unconditioned State)

        ดู [27] นิพพาน 2; [164] มรรค 4; [165] ผล 4.

Dhs.1094. อภิ.สํ. 34/706/278; 911/355.


[164] มรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด - the path)
        1. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส - the path of stream-entry)
        2. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง - the path of once-returning)
        3. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5 - the path of non-returning)
        4. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 - the path of Arahantship).

        ดู [329] สังโยชน์ 10.

Vbh.335. อภิ.วิ. 35/837/453.

[165] ผล 4 (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ - fruition)
        1. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย - fruition of stream-entry)
        2. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย - fruition of once-returning)
        3. อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย - fruition of non-returning)
        4. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย - fruition of Arahantship)

        ผล 4 นี้ บางทีเรียกว่า สามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม - fruits of a monk's life; fruits of the monkhood)

D.III.227; Vbh.335. ที.ปา. 11/242/240;
อภิ.วิ. 35/837/453.

[27] นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ - Nirvana; Nibbana)
        1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ - Nibbana with the substratum of life remaining)
        2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ - Nibbana without any substratum of life remaining)

        หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
        1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)
        2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ
        1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
        2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

It.38. ขุ.อิติ. 25/222/258.

        อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
        1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
        2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

A.IV.379. องฺ.นวก. 23/216/394.

 


เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
หัวใจพระโพธิสัตว์สิบชาติ คือ สิบชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะมาถึงชาติเจ้าชายสิทธัตถะผู้ซึ่งตรัสรู้แจ้งเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เต พระเตมีย์ใบ้
ชะ พระมหาชนก
สุ พระสุวรรณสาม
เน พระเนมิราช
มะ พระมโหสถ
ภู พระภูริทัต
จะ พระจันทกุมาร
นา พระมหานารทกัสสปะ
วิ วิธุรบัณฑิต
เว พระเวสสันดร

 

พระโพธิสัตว์สิบชาติ

พระเตมีย์

ผู้ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี

พระมหาชนก ผู้ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี
สุวรรณสาม ผู้บำเพ็ญเมตตาบารมี
พระเนมิราช ผู้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
มโหสถบัณฑิต ผู้ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
พระภูริทัต ผู้ทรงบำเพ็ญศีลบารมี
พระจันทกุมาร ผู้ทรงบำเพ็ญขันติบารมี
พระมหานารทกัสสปะ ผู้ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
วิธุรบัณฑิต ผู้บำเพ็ญสัจบารมี
พระเวสสันดร ผู้ทรงบำเพ็ญทานบารมี